Sunday 15 January 2012

ภาวะความซึมเศร้ากับการฆ่าตัวตาย (Depression and Suicide)


ภาวะซึมเศร้านั้น หรือโรคซึมเศร้านั้น เป็นสัญญาณเตือนของบุคลที่คิดฆ่าตัวตาย 

    • การพัฒนาแบบคัดกรองภาวะซึมเศร้าและความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย  Download
    • แบบคัดกรองภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่น Center for Epidemiologic Studies-Depression Scale (CES-D)     Download
    • แบบคัดกรองภาวะซึมเศร้าในเด็ก Children’s Depression Inventory (CDI) ฉบับภาษาไทย Download
    แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับภาวะความซึมเศร้า
    1.1 ความหมายของภาวะความซึมเศร้า
                 ความซึมเศร้า (Depression) หรือภาษาลาติน  “Deprive”  ความหมายว่า ความกดต่ำ หรือจมลงจากตำแหน่งเดิม (สมศร เชื้อหิรัญ, 2526) ความซึมเศร้า จึงหมายถึง ภาวะจิตใจหม่นหมอง หดหู่ และเศร้าสร้อย ร่วมกับการมีความรู้สึกท้อแท้หมดหวังและมองโลกในแง่ร้าย ความรุนแรงของความซึมเศร้านั้นมีหลายระดับ เริ่มแต่มีความเหนื่อยหน่ายเล็กน้อย ท้อแท้ใจ ไปจนถึงขั้นรู้สึกหมดหวัง หมดอาลัยตายอยากต้องการหนีจากความลำบากทั้งหลายด้วยการทำร้ายตนเอง (สุวนีย์  เกี่ยวกิ่งแก้ว, 2527) ภาวะความซึมเศร้าเป็นลักษณะที่แสดงว่า บุคคลนั้นหมดหวังมีอุปสรรคขัดขวางจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ ทำให้บุคคลมีความรู้สึกซึมเศร้า เสียใจ ไม่มีคุณค่า ต้อยต่ำ    เด็กจะมีแต่ความรู้สึกสูญเสียที่ตนเองไม่ประสบความสำเร็จหรือเกิดความล้มเหลวในชีวิต  (Seligman, 1974)
                ภาวะความซึมเศร้า เป็นภาวะที่คล้ายกับความวิตกกังวลหลายประการ ซึ่งภาวะทั้งสองนี้เกี่ยวข้องกัน ภาวะซึมเศร้าจะเกิดหลังภาวะวิตกกังวล  (Priest, 1983) ภาวะความซึมเศร้า มีลักษณะคล้ายกับความเศร้าเสียใจโดยทั่วไป แต่ความเศร้าเสียใจจัดได้ว่าเป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้โดยทั่วไป เช่นการสูญเสียบุคคลที่รัก ความจำเป็นต้องย้ายถิ่น หรือการสูญเสียความรู้สึกที่คุ้นเคยต่าง ๆ ของในแต่ละสถานการณ์ เมื่อภาวะความรู้สึกนี้เกิดขึ้นและได้รับการดูแลจากบุคคลใกล้ชิดก็จะสามารถก้าวผ่านความรู้สึกเศร้าเสียใจนี้ไปได้ แต่หากไม่สามารถผ่านความรู้สึกนี้ไปได้ อาจส่งผลให้เกิดความซึมเศร้า (เตือนใจ ห่วงสายทอง, 2545) โดยมีลักษณะดังต่อไปนี้
    1.  เกิดภาวะอารมณ์แปรปรวนได้ง่าย เช่น โศกเศร้า เสียใจ อ้างว้าง โดดเดี่ยว
    2.  ไม่เห็นคุณค่าในตนเอง ตำหนิตนเอง
    3.   ลงโทษตนเอง หลีกหนีสังคม พฤติกรรมถดถอยหรืออยากตาย
    4.   เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ
    5.  การดำเนินกิจกรรมเปลี่ยนไป เช่น เฉื่อยชา เชื่องช้า
                  สรุปได้ว่า ภาวะความซึมเศร้า หมายถึง การเปลี่ยนแปลงภาวะทางอารมณ์ เศร้าเสียใจ ท้อแท้ โดดเดี่ยว จนทำให้เด็กเกิดการแยกตัวเองจากกิจกรรมที่เคยทำในชีวิตประจำวัน และรู้สึกว่าตนเองด้อยค่า หมดหวัง รู้สึกผิด มักชอบตำหนิตนเอง มองโลกในแง่ร้าย จนถึงคิดอยากฆ่าตัวตายได้

    1.2 ลักษณะเด็กที่มีภาวะความซึมเศร้า 
               ลักษณะของเด็กที่มีภาวะความซึมเศร้า เด็กมักจะมีอาการแกล้งป่วย ไม่อยากไปโรงเรียน ติดพ่อแม่ เก็บตัว นิ่งเงียบ มองโลกในแง่ร้ายคิดว่าทุกคนจะทำร้ายตนเอง คิดว่าพ่อแม่ไม่รักตน คิดว่าตนเองไม่มีใครรัก จนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทั้งในด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านอารมณ์และด้านสังคม (นิตยา ภิญโญคำ, 2531)  ดังต่อไปนี้
    1. เด็กจะมีการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย  อย่างใดอย่างหนึ่ง
    1.1 จะมีอาการนอนไม่เป็นเวลา อาจนอนมาก หรือว่านอนไม่ค่อยหลับ   ตื่นบ่อย
    1.2 มีการเปลี่ยนแปลงทางระบบขับถ่าย เด็กที่อยู่ในภาวะซึมเศร้าจะมีอาการท้องผูก ทั้งนี้อาจจะเนื่องจากการรับประทานอาหารได้น้อย และมีการเคลื่อนไหวของร่างกายน้อยกว่าปกติ
    1.3 มีอาการเบื่ออาหาร ไม่ยอมทานอาหาร ผลที่ติดตามมาก็คือ น้ำหนักตัวลดลง ทำให้ผอมซูบลง
    1.4การเคลื่อนไหวของร่างการลดน้อยลง เชื่องช้า เด็กที่มีอาการซึมเศร้าจึงพูดจาเชื่องช้า เดินเหินช้า คิดช้า
                   2. เด็กมีการเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจ เด็กที่อยู่ในภาวะความซึมเศร้าส่วนใหญ่จะ          มีสมาธิไม่ดี ไม่สามารถที่จะสนใจสิ่งหนึ่งสิ่งใดได้นาน ๆ จะถูกรบกวนด้วยความคิดแปลก ๆ ได้ง่าย ความจำเสื่อม จำอะไรไม่ค่อยจะได้ เด็กจะรู้สึกหงอยเหงา หม่นหมอง เศร้าสร้อย ไม่สดชื่น โดยเฉพาะในเวลาเช้า ๆ เมื่อตื่นขึ้นมาจะนั่งนิ่ง ๆ ไม่ยอมทำกิจวัตรประจำวันด้วยตัวเองต้องคอยให้พ่อแม่มาช่วยทำให้ ไม่คิดจะทำอะไรด้วยตนเอง ขาดความสนใจในทุก ๆ เรื่อง พ่อแม่ต้องคอยกระตุ้นอยู่ตลอดเวลา
             3. เด็กมีการเปลี่ยนแปลงด้านอารมณ์  จะมีอารมณ์เศร้า ไม่สดชื่น หมดหวัง หมดอาลัยตายอยาก แสดงให้เห็นว่า เด็กอยู่ในภาวะเศร้าอย่างมาก รู้สึกเบื่อหน่ายมองโลกในแง่ร้าย
                   4. เด็กมีการเปลี่ยนแปลงด้านสังคม จะมีความสนใจสิ่งแวดล้อมน้อยมาก จะชอบอยู่คนเดียวเงียบ ๆ ไม่มีสังคม ไม่ชอบไปโรงเรียน มีปัญหากับเพื่อน  ๆ และครูที่โรงเรียน                       ในด้านพฤติกรรม ดื้อ ต่อต้าน ก้าวร้าว
                สรุปได้ว่าเด็กที่มีภาวะความซึมเศร้า สามารถสังเกตได้จากการที่เด็กไม่สามารถคิดหรือทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ เด็กจะรู้สึกเหงา เศร้า ว้าเหว่ ขาดความภูมิใจในตนเอง มองโลกในแง่ร้าย รู้สึกผิดตลอดเวลา มีปัญหาการเรียน การนอน การขับถ่าย บางครั้งอาจมีปัญหาปัสสาวะรดที่นอน เวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน เก็บตัว ไม่อยากไปโรงเรียน ถ้าเป็นเด็กโตอาจพูดถึงการฆ่าตัวตาย ซึ่งเป็นการบอกเหตุที่สำคัญต้องเฝ้าระวัง ป้องกันไม่ให้เกิดการทำร้ายตนเองหรือทำร้ายผู้อื่น อาการซึมเศร้าอาจเกิดจากสาเหตุหลาย ๆ อย่าง เช่น สอบตก เพื่อนไม่ชอบเขา พ่อแม่หย่าร้างกัน การเสียชีวิตของผู้เป็นที่รัก เด็กที่กำลังอยู่ในภาวะซึมเศร้า ควรได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด เฝ้าสังเกตพฤติกรรมการเปลี่ยนแปลง ควรระมัดระวังคำพูดและการทำบางอย่างที่อาจไปกระทบจิตใจเด็ก ควรหากิจกรรมที่สนุก ที่เด็กชอบทำ เช่น เล่นกับสัตว์เลี้ยง เล่นกีฬา ทำงานอดิเรกที่ชอบ ฯลฯ เพื่อไม่ให้เด็กซึมเศร้า แยกตัวอยู่ตามลำพัง การแสดงออกของผู้ปกครองที่บ่งบอกว่ารักและเข้าใจ พร้อมที่จะช่วยเหลือให้คำแนะนำแก่เด็ก เป็นสิ่งสำคัญที่จะให้เด็กกล้าพูดหรือเล่าเรื่องที่เขากำลังคับข้องใจภาวะความซึมเศร้าหากเด็กต้องตกอยู่ในภาวะความซึมเศร้าอยู่ตลอดเวลา อาจจะก่อให้เกิดปัญหาขั้นรุนแรง  จึงควรต้องคอยระวังอาการเหล่านี้ซึ่งเป็นบ่อเกิดของการคิดทำร้ายทั้งตนเองและผู้อื่นได้
                   

    1.3 เด็กที่ได้รับผลกระทบของภาวะความซึมเศร้า
           เด็กที่ได้รับผลของภาวะความซึมเศร้า แบ่งได้เป็น 3 ระดับ  (Beck, 1967) คือ
              1. ผลของภาวะความซึมเศร้าระดับเล็กน้อย
                    เป็นผลของภาวะอารมณ์ที่เด็กจะไม่มีความสดชื่นแจ่มใส อารมณ์เศร้า เหงาหงอย เกิดขึ้นชั่วคราว ซึ่งเด็กจะรู้สึกได้เป็นบางครั้ง บางครั้งก็มีสาเหตุเพียงพอ บางครั้งก็ไม่มีสาเหตุใด ๆ มักเปรียบเทียบกับคนอื่น เริ่มรู้สึกไม่พอใจต่อรูปลักษณ์ของตนเอง ความตั้งใจในการทำงานใด ๆ เริ่มลดน้อยลง การนอนหลับพักผ่อนเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เช่น หลับยาวมากกว่าปกติ             หรือตื่นบ่อย           
              2. ผลของภาวะความซึมเศร้าระดับปานกลาง
                    เป็นผลของภาวะอารมณ์ที่จะรุนแรงขึ้น ซึ่งจะมีผลกระทบกระเทือนต่อชีวิตครอบครัว การเรียน แต่ยังสามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้ ถึงแม้ว่าจะไม่สมบูรณ์นัก พฤติกรรมที่แสดงออกมีดังนี้
                 2.1. อารมณ์ จะมีอารมณ์ไม่สดชื่น เศร้าสร้อย หม่นหมอง ไม่มีความสุขเลย มีความรู้สึกว่าตนเองไร้ค่า ไร้ประสิทธิภาพ ไม่มีกำลัง เป็นคนไม่มีความสามารถ หงุดหงิด จิตใจอ่อนไหว ร้องไห้ง่าย บางครั้งมีความวิตกกังวลสูง โกรธง่าย ก้าวร้าว คิดว่าตนเองเป็นคนไม่ดี ไม่มีความภาคภูมิใจในตนเอง
                 2.2. กระบวนการคิด จะมีความสนใจน้อย ไม่มีสมาธิ ลังเล ตัดสินใจไม่ได้คิดว่าตนเองเป็นคนไม่มีความสุข ไม่มีความหมาย มีผลให้นอนไม่หลับ บางคนอาจต้องการฆ่าตัวตาย
                2.3. ประสาทสัมผัสทางกาย มีอาการใจสั่น แน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวกเบื่ออาหาร แต่บางรายจะแสดงอาการตรงกันข้ามคือ รับประทานอาหารมากขึ้น น้ำหนักเพิ่มขึ้น    ไม่สนใจตนเอง
            2.4. การเคลื่อนไหว ท่าทาง และคำพูด การเคลื่อนไหวจะช้าลง ถ้าบุคคลที่มีความกระวนกระวายมาก จะมีอาการย้ำคิดย้ำทำ การพูดจาลำบาก บางครั้งไม่พูดคุย ขาดความมั่นใจ
               2.5. การเข้าสังคม ในระยะแรกจะเข้าสังคมอย่างเสียไม่ได้ จะทิ้งสังคมทีละน้อยและจะสนใจตนเองมากขึ้น พยายามมองหาคุณค่าของตนเอง ถ้าไม่พบเริ่มไม่แน่ใจ สงสัยคุณค่าของตนเอง ขาดความนับถือตนเอง ไม่มีความภาคภูมิใจในตนเอง จากนั้นจะเลิกสนใจตนเอง ไม่ต้องการคบเพื่อน และหนีห่างจากสังคม
                3. ผลของภาวะความซึมเศร้าระดับรุนแรง
                    เป็นผลของภาวะอารมณ์ที่มีความเศร้าตลอดเวลาและเป็นอยู่นานทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอารมณ์และพฤติกรรมอย่างเห็นได้ชัด เช่น รู้สึกไม่มีความหวัง ไร้คุณค่า                     ไม่มีประโยชน์ตลอดเวลา ทำให้มีความคิดฆ่าตัวตาย ไม่สนใจสิ่งแวดล้อมรอบตัว แทบจะไม่มีการเคลื่อนไหว บางรายอาจนั่งอยู่เฉย ๆ ในท่าเดียวนาน ๆ หรืออาจผุดลุกผุดนั่ง การพูดจาเป็นไปอย่างเชื่องช้า เงียบซึม เด็กที่มีอารมณ์เศร้าระดับนี้จะไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ และมักจะถอยตัว       ออกจากโลกความเป็นจริง ไม่เข้าสังคม ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม มีความคิดที่จะพยายามฆ่าตัวตายเนื่องจากมีความหลงผิดหรือประสาทหลอน
               สรุปได้ว่า เด็กที่ได้รับผลกระทบของภาวะความซึมเศร้า เกิดจากสาเหตุที่เด็กสูญเสียพ่อแม่จากโรคเอดส์ ทำให้เด็กเกิดภาวะเครียด เศร้าโศกเสียใจ เด็กขาดความรัก ความอบอุ่น ซึ่งส่วนใหญ่เด็กจะมีระดับของภาวะความซึมเศร้าในระดับเล็กน้อย ระดับปานกลาง หรืออยู่ในระดับรุนแรงนั้น ขึ้นอยู่กับภาวะของอารมณ์ต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับตัวเด็กด้วย หากเด็กต้องตกอยู่ในภาวะความซึมเศร้าอยู่เป็นประจำ ทำให้รู้สึกหมดหวังในชีวิต ท้อแท้และมักมองโลกในแง่ร้ายแล้ว จึงเป็นภาวะที่เสี่ยงต่อการคิดทำร้ายตนเองและผู้อื่นได้  
                    ดังนั้นเด็กที่ได้รับผลกระทบจากโรคเอดส์ส่วนใหญ่ต้องเผชิญกับปัญหาการสูญเสียบิดามารดา  ผลจากการที่เด็กต้องเผชิญกับปัญหาที่หนักทำให้เด็กยังไม่สามารถปรับตัวเองได้ เด็กกลุ่มนี้จึงจัดอยู่ในระดับของภาวะความซึมเศร้าในระดับปานกลางและรุนแรง และอาจนำไปสู่การฆ่าตัวตายได้ 

    ข้อมูลสถิตการฆ่าตัวตาย

    10 จังหวัดที่มีอัตราการฆ่าตัวตายสูงสุด ปี 2553
     รายงานอัตราการฆ่าตัวตาย (รายต่อแสนประชากร) ปี พ.ศ. 2540-2553

    รายงานอัตราการฆ่าตัวตายแยกตามเพศ ปี พ.ศ. 2540-2553
                 สรุปได้ว่า จากข้อมูลปี 2553 (เนื่องจากสถิติข้อมูล 54 ยังจัดทำสรุปไม่เเล้วเสร็จ) ทำให้สรุปได้ว่า จังหวัดส่วนใหญ่ที่มีอัตราฆ่าตัวตายสูงอยู่ในจังหวัดในภาคเหนือเป็นส่วนใหญ่ เเละเป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง โดยมีอัตราการฆ่าตัวตายคิดเป็น 5.9 ต่อประชากรเเสนราย

    ขอบคุณเเหล่งข้อมูล จาก กรมสุขภาพจิต

    หากต้องการข้อมูลเพื่อนำไปประกอบการเรียน จิตวิทยา หรือการทำวิทยานิพนธ์ สามารถปรึกษาได้นะครับ
    https://www.facebook.com/piyapongpom

    แชร์ประสบการณ์การเขียน Blog เรื่อง สู่ความเป็นหนึ่งในการค้นหา (SEO)

    สวัสดีครับ ผ่านมาเกือบ 2 ปี สำหรับการเป็น Blogger (วันเวลาช่างผ่านไปรวดเร็วเหลือเกิน) ตอนเเรกที่เริ่มเขียนยังคิดว่าจะมีใครเข้ามาอ่านบทความของเราหรือเปล่า(เเรกๆคิดท้อใจ) เเต่ปัจจุบันยอดคนเข้ามาดูบล๊อกก็เกือบ 1 เเสนเเล้ว วันนี้เลยของเเชร์ประสบการณ์การเขียน Blog หน่อยนะครับ เคยจำได้ว่ามีน้องคนหนึ่งที่เพิ่งเขียน Blog ใหม่ๆ ถามว่า "ทำอย่างไรที่ทำให้หัวข้อ หรือ เรื่องที่เราเขียนใน Blog นั้น" เมื่อทำการค้นหาใน Google  แล้วสามารถค้นหาพบได้เลยในหน้าเเรกๆ ของผลลัพธ์การค้นหา หรือหน้าต้นๆของผลการค้นหา ยกตัวอย่างหัวข้อที่ผมเขียนใน Blog เรือง สาเหตุน้ำท่วมปี 54 นะครับ ที่สามารถขึ้นเป็นอันดับหนึ่งในการค้นหา


    ก่อนอี่นเรามาทำความเข้าใจของระบบการค้นหาของ Google ก่อนนะครับ 

    กูเกิล สร้างจาก ภาษา Python ที่ทำงานเร็ว และมีประสิทธิภาพสูง มี การ Index ข้อมูลโดยการเก็บข้อมูลลงฐานข้อมูล และดึงข้อมูลมาจากฐานข้อมูลหลายแห่ง โดยการส่ง Google Bot ทำการไต่หรือคลานมาจัดสำเนาข้อมูล (crawling)  หน้าเว็ปหรือบล๊อกของเรา ซึ่งทั้งหมดนั้น จะถูกจัดเก็บโดยการแบ่งรายละเอียดออกเป็นส่วนๆอย่างละเอียด


    วิธีที่ทำให้ Google มีการ Index ข้อมูลของ Blog หรือเว็ปของเรานั้น อาจเรียก การ SEO (Search Engine Optimization)
    1. บทความ หัวข้อ หรือเรื่องที่เราเขียนนั้น ต้องเป็นเนื้อหาที่ใหม่ ทันเวลา โดยมีผลถึง 50% ในผลการค้นหา เป็นเนื้อหาใหม่ที่ไม่ซ้ำใคร เกี่ยวเนื่องกับบทความนั้น ๆ google ก็จะให้ความสำคัญกับบทความนั้น ๆ ( Google Caffeine )
    2. การใส่ป้ายกำกับ หรือ Tag ให้เเก่บทความของเรา เนื่องจาก Google ยึด keyword ในการค้นหาเป็นสำคัญ ดังนั้นการติดป้ายกำกับ หรือ Tag ให้บทความเรานั้น จะสามารถช่วยให้ Bot สามารถ crawling มาเว็บไซต์หรือ บล๊อกของเราได้เร็วขึ้น เพื่อเก็บเนื้อหาใหม่ไปยังฐานข้อมูลสำหรับการค้นหาต่อไป
    3. การเข้าร่วมวงสนทนากับบล็อกดังๆ (Blog Communities) ที่มีผลการค้นหาที่ดีใน Google โดยการ comment บล็อกเหล่านั้นด้วยความสุภาพ ซึ่งจะช่วยให้ Bot ไต่มา (crawling) ที่บล็อกของเราเร็วขึ้นทุกๆครั้งที่มีการโพสต์บทความใหม่
    4. การนำเรื่องหรือบทความของเรา ไป ประชาสัมพันธ์บน social network ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Twitter, G+ เป็นต้น(ยิ่งมีเพื่อนเยอะๆ ก็ยิ่งเพิ่มโอกาสเข้าเยี่ยมชมนะครับ) เมื่อมีการคลิกที่ link ก็จะส่งผู้เยี่ยมชมมาที่เว็บ หรือบล๊อกของเรา ซึ่งนั่นเท่ากับว่าเราได้ สะพาน หรืออาจเรียก traffic แบบฟรี ๆเพิ่มขึ้น ทำให้ Bot สามารถไต่มาที่บล๊อกของเราได้อีกช่องทางหนึ่ง
    สรุป  บทความนั้นเป็นเนื้อหาใหม่ที่ไม่ซ้ำใคร 50% + กับวิธีการใดๆก็ตามอีก 50 % ที่จะทำให้ Google Bot นั้นสามารถมายังเว็ป หรือ บล๊อกของเรา แล้วทำการ Index ข้อมูลได้ง่าย เเละรวดเร็ว ยิ่งทำสะพานเชื่อมมากเท่าไร ผลการค้นหาก็จะยึ่งง่ายขึ้นตามครับ

    ขอบคุณข้อมลูประกอบ จาก www.seo.thaika.com , www.thainetblog.com , www.thaigetlink.com และ www.seoinwgang.blogspot.com