Thursday 16 February 2012

มาตรา 80

รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านสังคม การสาธารณสุข การศึกษา และวัฒนธรรม ดังต่อไปนี้

(๑) คุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชน สนับสนุนการอบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษาปฐมวัย ส่งเสริมความเสมอภาคของหญิงและชาย เสริมสร้างและพัฒนาความเป็นปึกแผ่นของสถาบันครอบครัวและชุมชน รวมทั้งต้องสงเคราะห์และจัดสวัสดิการให้แก่ผู้สูงอายุ ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ และผู้อยู่ในสภาวะยากลำบาก ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและพึ่งพาตนเองได้

(๒) ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาระบบสุขภาพที่เน้นการสร้างเสริมสุขภาพอันนำไปสู่สุขภาวะที่ยั่งยืนของประชาชน รวมทั้งจัดและส่งเสริมให้ประชาชนได้รับบริการสาธารณสุขที่มีมาตรฐานอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ และส่งเสริมให้เอกชนและชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาสุขภาพและการจัดบริการสาธารณสุข โดยผู้มีหน้าที่ให้บริการดังกล่าวซึ่งได้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรฐานวิชาชีพและจริยธรรม ย่อมได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย

(๓) พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการจัดการศึกษาในทุกระดับและทุกรูปแบบให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม จัดให้มีแผนการศึกษาแห่งชาติ กฎหมายเพื่อพัฒนาการศึกษาของชาติ จัดให้มีการพัฒนาคุณภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาให้ก้าวหน้าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก รวมทั้งปลูกฝังให้ผู้เรียนมีจิตสำนึกของความเป็นไทย มีระเบียบวินัย คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

(๔) ส่งเสริมและสนับสนุนการกระจายอำนาจเพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน องค์การทางศาสนา และเอกชน จัดและมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนามาตรฐานคุณภาพการศึกษาให้เท่าเทียมและสอดคล้องกับแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ

(๕) ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาวิจัยในศิลปวิทยาการแขนงต่าง ๆ และเผยแพร่ข้อมูลผลการศึกษาวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนการศึกษาวิจัยจากรัฐ

(๖) ส่งเสริมและสนับสนุนความรู้รักสามัคคีและการเรียนรู้ ปลูกจิตสำนึกและเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีของชาติ ตลอดจนค่านิยมอันดีงามและภูมิปัญญาท้องถิ่น

Wednesday 15 February 2012

ความคาดหวังและการรับรู้ (Expectations and Perceptions)

ความคาดหวังและการรับรู้ของสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่มีต่อการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคของสำนักโรคติดต่อทั่วไป ปี 2555

ปิยพงษ์ กัณทะกาลัง วท.ม., สุพินดา ตีระรัตน์ วท.ม., สุนันทา สีโท สค.ม., สุดธิดา แสงยนต์ วท.ม.,ศรัญญา พันธุ์คุณ วท.บ.
สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค
           
            การสำรวจความคาดหวังและการรับรู้ของสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่มีต่อการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคของสำนักโรคติดต่อทั่วไป มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคาดหวังและการรับรู้ของสำนักงานป้องกันควบคุมโรค ที่มีต่อการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคของสำนักโรคติดต่อทั่วไป เป็นการศึกษาเชิงสำรวจ (Survey Research) เก็บข้อมูลระหว่างเดือน ธันวาคม 2554 – มกราคม 2555 โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างเจาะจง (Purposive Sampling) กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรของสำนักงานป้องกันควบคุมโรค ที่ 1-12 จำนวน 112 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-Way ANOVA)
ผลการสำรวจพบว่า
 1.  ความคาดหวังของบุคลากรสำนักงานป้องกันควบคุมโรค ต่อการดำเนินงานของสำนักโรคติดต่อทั่วไปอยู่ใน ระดับมากที่สุด เฉลี่ย 4.28 (S.D. 077) โดยมีระดับความคาดหวังมากที่สุด ในเรื่อง บุคลากรของสำนักฯ มีความเชี่ยวชาญในงานป้องกันควบคุมโรคติดต่อทั่วไป ค่าเฉลี่ยของความคาดหวังเท่ากับ 4.48 (S.D. 0.65) ส่วนระดับความคาดหวังต่อสำนักฯน้อยที่สุด คือ การติดตามประเมินผลการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคระดับประเทศ ในเรื่อง ทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วค่าเฉลี่ยความคาดหวังเท่ากับ 4(S.D. 0.63)
2. การรับรู้ของบุคลากรสำนักงานป้องกันควบคุมโรค ต่อการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรค ของสำนักโรคติดต่อทั่วไปอยู่ใน ระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.24 (S.D. 0.93) โดยมีระดับการรับรู้มากที่สุด เรื่อง ระบบส่งกำลังบำรุง (Logistics) ในการเตรียมพร้อมตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข ค่าเฉลี่ยของการรับรู้เท่ากับ 3.63 (S.D 0.87) สำหรับเรื่องที่น้อยที่สุด คือ การติดตามประเมินผลการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคระดับประเทศ เรื่อง โรคหนอนพยาธิ ค่าเฉลี่ยของการรับรู้เท่ากับ 2.94 (S.D. 0.95)
3. ความแตกต่างระหว่างความคาดหวังและการรับรู้ของบุคลากรสำนักงานป้องกันควบคุมโรคต่อการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคของสำนักโรคติดต่อทั่วไป พบว่าในภาพรวมกลุ่มตัวอย่างมี ระดับการรับรู้ต่ำกว่าระดับความคาดหวังที่มีต่อดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคของสำนักโรคติดต่อทั่วไป ค่าคะแนนความแตกต่างเฉลี่ย เท่ากับ 0.98 (S.D. 1) โดยเรื่องที่มีค่าเฉลี่ยแตกต่างมากที่สุด คือ ผลผลิตทางวิชาการที่เป็นประโยชน์ต่อสำนักงานป้องกันควบคุมโรคในการเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมโรคติดต่อทั่วไป เรื่อง ข่าวกรอง ซึ่งมีค่าความแตกต่างเฉลี่ย เท่ากับ 1.27 (S.D. 1.05) ส่วนค่าเฉลี่ยที่มีความแตกต่างระหว่างการรับรู้และความคาดหวังน้อยที่สุด คือเรื่อง ระบบส่งกำลังบำรุง (Logistics) ในการเตรียมพร้อมตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข ซึ่งมีค่าความแตกต่างเฉลี่ย เท่ากับ 0.76 (S.D. 0.94) เมื่อจำแนกความคาดหวังและการรับรู้ของผู้ปฏิบัติของสำนักงานป้องกันควบคุมโรคแต่ละกลุ่มงาน พบว่าไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ
จากผลการศึกษาดังกล่าว จะเห็นว่าการรับรู้ของสำนักงานป้องกันควบคุมโรคต่อการดำเนินงานของสำนักโรคติดต่อทั่วไป เป็นที่ประจักษ์ในด้านการบริหารจัดการระบบส่งกำลังบำรุงเพื่อเตรียมตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน ในขณะที่ความเชี่ยวชาญของบุคลากรสำนักโรคติดต่อทั่วไปในงานป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อทั่วไป เป็นเรื่องที่สำนักงานป้องกันควบคุมโรค คาดหวังมากที่สุด สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ การบริหารทรัพยากรบุคลากรของสำนักโรคติดต่อทั่วไป พ.ศ.2555-2559 ซึ่งมุ่งพัฒนาบุคลากรให้เป็นมืออาชีพ ด้านการป้องกันควบคุมโรคติดต่อ และทิศทางการพัฒนาแผนงานควบคุมโรคระดับชาติ (National Disease Control Program)

Thursday 2 February 2012

หมวด 1 ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ มาตรา 112 (เนื้อหา,ใจความ)

วันนี้นำเอาความรู้เกี่ยวกับประมวลกฏหมายอาษา หมวด 1 มาตรา 107-112 มาให้ทราบกันนะครับ เผื่อบางท่านที่ยังไม่ทราบ

หมวด 1 ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

มาตรา 107 ผู้ใดปลงพระชนม์พระมหากษัตริย์ ต้องระวางโทษ ประหารชีวิต
ผู้ใดพยายามกระทำการเช่นว่านั้น ต้องระวางโทษเช่นเดียวกัน
ผู้ใดกระทำการใดอันเป็นการตระเตรียมเพื่อปลงพระชนม์พระ มหากษัตริย์หรือรู้ว่ามีผู้จะปลงพระชนม์พระมหากษัตริย์ กระทำ การใดอันเป็นการช่วยปกปิดไว้ ต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต

มาตรา 108 ผู้ใดกระทำการประทุษร้ายต่อพระองค์ หรือเสรีภาพ ของพระมหากษัตริย์ ต้องระวางโทษประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิตผู้ใดพยายามกระทำการเช่นว่านั้น ต้องระวางโทษเช่นเดียวกัน
ถ้าการกระทำนั้นมีลักษณะอันน่าจะเป็นอันตรายแก่พระชนม์ ผู้ กระทำต้องระวางโทษประหารชีวิต
ผู้ใดกระทำการใดอันเป็นการตระเตรียมเพื่อประทุษร้ายต่อพระองค์ หรือเสรีภาพของพระมหากษัตริย์ หรือรู้ว่ามีผู้จะกระทำการประทุษร้าย ต่อพระองค์หรือเสรีภาพของพระมหากษัตริย์ กระทำการใดอันเป็น การช่วยปกปิดไว้ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบหกปีถึงยี่สิบปี

มาตรา 109 ผู้ใดปลงพระชนม์พระราชินีหรือรัชทายาท หรือฆ่า ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษประหารชีวิตผู้ใดพยายามกระทำการเช่นว่านั้น ต้องระวางโทษเช่นเดียวกัน
ผู้ใดกระทำการใดอันเป็นการตระเตรียมเพื่อปลงพระชนม์ พระราชินีหรือรัชทายาท หรือเพื่อฆ่าผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ หรือรู้ว่ามีผู้จะปลงพระชนม์พระราชินีหรือรัชทายาท หรือจะฆ่าผู้ สำเร็จราชการแทนพระองค์ กระทำการใดอันเป็นการช่วยปกปิดไว้ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบสองปีถึงยี่สิบปี

มาตรา 110 ผู้ใดกระทำการประทุษร้ายต่อพระองค์ หรือเสรีภาพ ของพระราชินีหรือรัชทายาท หรือต่อร่างกายหรือเสรีภาพของผู้ สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิตหรือ จำคุกตั้งแต่สิบหกปีถึงยี่สิบปี
ผู้ใดพยายามกระทำการเช่นว่านั้น ต้องระวางโทษเช่นเดียวกัน
ถ้าการกระทำนั้นมีลักษณะอันน่าจะเป็นอันตรายแก่พระชนม์หรือ ชีวิต ผู้กระทำต้องระวางโทษประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต
ผู้ใดกระทำการใดอันเป็นการตระเตรียมเพื่อประทุษร้ายต่อพระองค์ หรือเสรีภาพของพระราชินีหรือรัชทายาท หรือต่อร่างกายหรือ เสรีภาพของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ หรือรู้ว่ามีผู้จะประทุษร้าย ต่อพระองค์ หรือเสรีภาพของพระราชินีหรือรัชทายาท หรือ ประทุษร้ายต่อร่างกายหรือเสรีภาพของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ กระทำการใดอันเป็นการช่วยปกปิดไว้ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ สิบสองปีถึงยี่สิบปี

มาตรา 111 ผู้ใดเป็นผู้สนับสนุนในการกระทำความผิดตาม มาตรา 107 ถึง มาตรา 110 ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับตัวการในความผิดนั้น

มาตรา 112 ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จ ราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้า

ขอบคุณที่มา http://www.kodmhai.com

(งดเเสดงความคิดเห็นนะครับ)