Thursday 22 March 2012

กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี วัตถุประสงค์ เเนวคิด

กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี 

วัตถุประสงค์หลัก
       เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนให้กับกลุ่มและเครือข่ายสตรีซึ่ง เป็นประชากรส่วนใหญ่ของสังคม ผู้หญิงไทย 18 ล้านคน จาก 33 ล้านคนยังยากจนไม่มีรายได้พอเลี้ยงชีวิตและครอบครัว แต่ยังขาดโอกาสเข้าถึงแหล่งทุน ให้มีเงินทุน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ นำเงินกลับไปเลี้ยงครอบครัว ทั้งนี้ กล่าวได้ว่ากองทุนสตรีเป็นกองทุนที่ต่อยอดจากกองทุนหมู่บ้าน ที่เล็งเห็นศักยภาพของเครือข่ายสตรีในระดับตำบล ที่จะสร้างรายได้ ลดปัญหา พัฒนาเครือข่าย ตามที่นายกรัฐมนตรีมีวิสัยทัศน์ว่า การยกระดับคุณภาพชีวิตของสตรี คือการยกระดับคุณภาพชีวิตของครอบครัว และที่สุดคือการยกระดับรายได้ของประเทศ

แนวคิดการจัดตั้งกองทุนฯ 
       ได้ต่อยอดมาจากความสำเร็จของกองทุนหมู่บ้าน ซึ่งผ่านมาเกือบ 10 ปี เงินหมุนเวียนของกองทุนจากที่รัฐบาลจัดสรรไว้ให้ประมาณ 98,000 ล้านบาทในช่วงเริ่มต้น ปัจจุบันได้เพิ่มขึ้นถึงกว่า 160,000 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 40 ดังนั้นแนวคิดในการบริหารกองทุนฯ ของรัฐบาล จึงใช้แนวทางการบริหารแบบเดียวกันกับกองทุนหมู่บ้าน โดยระยะแรกคือการออกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีเพื่อเริ่มดำเนินโครงการ แต่ต่อไปก็จะออกพระราชบัญญัติกองทุนฯ เช่นเดียวกับ พรบ. กองทุนหมู่บ้าน เพื่อจัดสรรเงินกองทุนที่เบิกจ่ายมาจากงบประมาณประจำปี 7,700 ล้าน


ความแตกต่างจากกองทุนหมู่บ้าน
     กองทุนพัฒนาบทบาทสตรีไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อการกู้ยืมอย่างเดียว และไม่ได้เป็นการส่งเสริมให้ผู้หญิงกู้เงิน เพียงแต่มีอีกกองทุนที่ให้โอกาสสตรีได้เข้าถึงแหล่งทุน โดยสมาชิกต้องรวมกลุ่มกันตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป ถึงจะยื่นโครงการขอใช้เงินกองทุนได้ นอกจากนี้ยังมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพของผู้หญิงในทุก มิติ พร้อมสนับสนุนเครือข่ายองค์กรสตรีที่ทำงานเพื่อสตรีอยู่แล้วได้มีงบประมาณ สนับสนุนการทำกิจกรรม ซึ่งถือเป็นการรวมพลังผู้หญิง สร้างสรรค์ประเทศไทย ตามวิสัยทัศน์ของกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี

ดาวโหลดข้อมูลกองทุน


ขอบคุณข้อมูล จาก http://www.womenfund.thaigov.go.th

Tuesday 20 March 2012

ประชาคมอาเซียน ปี 2558 ผลดี ผลเสีย ( ASEAN Community 2015 )

วันนี้มาวิเคราะห์ผลดี ผลเสีย ของการเป็นประชาคมอาเซียน ที่จะจัดตั้งอย่างเป็นทางการ ในปี 2558 ที่จะมาถึงนี้กันครับ



ก่อนอี่นขอกล่าวถึง

ประวัติ ความเป็นมาของประชาคมอาเซียน (ASEAN Community)

อาเซียน(ASEAN) ประกอบด้วย 10 ประเทศ ได้แก่ ไทย (2510) สิงคโปร์ (2510) อินโดเนเซีย (2510) มาเลเซีย (2510) ฟิลิปปินส์ (2510) บรูไน (2527) เวียตนาม (2538)  ลาว (2540) พม่า (2540) กัมพูชา (2542) มีประชากรรวมกันประมาณ 570 ล้านคน

ในเดือนตุลาคม 2546 ผู้นำอาเซียนได้ร่วมลงนามในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียน ที่เรียกว่า ข้อตกลงบาหลี 2 เห็นชอบให้จัดตั้ง ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) คือการให้อาเซียนรวมตัวเป็นชุมชนหรือประชาคมเดียวกันให้สำเร็จภายในปี พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020) แต่ต่อมาได้ตกลงร่นระยะเวลาจัดตั้งให้เสร็จในปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015) เนื่องจากการแข่งขันรุนแรง เช่น อัตราการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจของจีนและอินเดียสูงมากในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างก้าวกระโดด เป็นต้น

ซึ่งในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 14 ที่ชะอำ หัวหิน เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2552 ผู้นำอาเซียนได้ลงนามรับรองปฏิญญาชะอำ หัวหิน ว่าด้วยแผนงานจัดตั้งประชาคมอาเซียน (.. 2009-2015) เพื่อจัดตั้งประชาคมอาเซียนภายในปี 2558

โดยจะเป็นประชาคมที่ประกอบด้วย 3 เสาหลักซึ่งเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน คือ
1) ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน มุ่งให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกันอย่างสันติ  มีระบบแก้ไขความขัดแย้งระหว่างกันได้ด้วยดี มีเสถียรภาพอย่างรอบด้าน มีกรอบความร่วมมือเพื่อรับมือกับภัยคุกคามความมั่นคงทั้งรูปแบบเดิมและรูป แบบใหม่ ๆ เพื่อให้ประชาชนมีความปลอดภัยและมั่นคง
2) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มุ่งให้เกิดการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจ และการอำนวยความสะดวกในการติดต่อค้าขายระหว่างกัน อันจะทำให้ภูมิภาคมีความเจริญมั่งคั่ง และสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่น ๆ ได้ เพื่อความอยู่ดีกินดีของประชาชนในประเทศอาเซียน
3) ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน เพื่อให้ประชาชนแต่ละประเทศอาเซียนอยู่ร่วมกันภายใต้แนวคิดสังคมที่เอื้ออาทร มีสวัสดิการทางสังคมที่ดี และมีความมั่นคงทางสังคม  

ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.aseanthailand.org

ประโยชน์
1.ประชากรเพิ่มเป็น 600 ล้านคนโดยประมาณ ทำให้เพิ่มศักยภาพในการบริโภค เพิ่มอำนาจการต่อรองในระดับโลก
2.Economy Scale ยิ่งผลิตมาก ยิ่งต้นทุนต่ำ
3.มีแรงดึงดูดเงินลงทุนที่อยู่นอกอาเซียนสูงขึ้น
4.สิบเสียงย่อมดังกว่าเสียงเดียว

ผลกระทบ
1. การศึกษาในภาพใหญ่ของโลก มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง ต้องไม่ให้การเปลี่ยนแปลงนี้มากระชากลากเราไปอย่างทุลักทุเล เราต้องเตรียมความพร้อมทันที ตลอดเวลาโดยเฉพาะบุคลากรต้องตามให้ทันและยืดหยุ่นปรับตัวให้รับสถานะการณ์ได้
2. ภาษาอังกฤษจะเป็นภาษากลางของ ASEAN บุคลากรและนักศึกษา ต้องเพิ่มทักษะทางด้านภาษาอังกฤษ ให้สามารถสื่อสารได้
3.ปรับปรุงความเข้าใจทางประวัติศาสตร์ เพื่อลดข้อขัดแย้งในภูมิภาคอาเซียน (Conflict Management) จึงต้องคำนึงถึงการสร้างบัณฑิตให้มีความรู้ความเข้าใจเรื่อง ASEAN ให้มากขึ้น
4. สร้างบัณฑิตให้สามารถแข่งขันได้ใน ASEAN เพิ่ม โอกาสในการทำงาน ไม่เช่นนั้น จะถูกแย่งงานเพราะเกิดการเคลื่อนย้ายแรงงาน/บริการอย่างเสรี คณะกรรมการวิชาชีพ สภาวิชาชีพ ต้องเตรียมการรองรับผลกระทบนี้อย่างเร่งด่วน
5. โอกาสในการเป็น Education Hub โดยอาศัยความได้เปรียบในเชิงภูมิศาสตร์ของประเทศไทย แต่ต้องเน้นในเรื่องของคุณภาพการศึกษาเป็นตัวนำ
6. เราต้องการเครื่องมือในการ Transform คน การเรียนแบบ PBL หรือ Project Based Learning น่า จะได้มีการวิจัยอย่างจริงจังและนำมาปรับใช้  ห้องเรียนไม่ใช่แค่ห้องสี่เหลี่ยมเล็กๆอีกต่อไป ต้องเพิ่มการเรียนจากชีวิตจริง ลงมือทำเป็นทีม อยู่คนละประเทศก็ทำร่วมกันได้ด้วยไม่มีข้อจำกัดทางด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร ประเด็นนี้ อาจารย์จะสอนได้ยากขึ้น แต่เป็นผู้ที่ช่วยให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ได้ แสดงว่า อาจารย์ต้องมีความพร้อมมากกว่าเดิมและเก่งจริงๆ
 

MRAs
การ ประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 9 เมื่อ 7 ตุลาคม 2546 ที่บาหลี อินโดนีเซีย ได้กำหนดจัดทำข้อตกลงร่วมกัน (Mutual Recognition Arrangements : MRAs)เกี่ยวกับคุณสมบัติของวิชาชีพหลัก แรงงานเชี่ยวชาญ หรือผู้มีความสามารถพิเศษ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายได้อย่างเสรี โดยจะเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2558 ในเบื้องต้น ได้ทำข้อตกลงร่วมกันแล้ว 7 สาขา คือ 

1.วิศวกรรม (Engineering Services) 

2.พยาบาล (Nursing Services) 

3.สถาปัตยกรรม (Architectural Services) 

4.การสำรวจ (Surveying Qualifications) 

5.แพทย์ (Medical Practitioners) 

6.ทันตแพทย์ (Dental Practitioners) 

7.บัญชี (Accountancy Services)


ขอบคุณข้อมูลจาก คุณมานัส มงคลสุข

ผมขอแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมจากประสบการณ์ความรู้ต่างๆที่ได้สืบค้น เพิ่มเติมจากคุณมานัส มงคลสุขดังนี้นะครับ

ข้อดี
ด้านการท่องเที่ยว
จากประชากรที่เพิ่มขึ้นเป็น 600 ล้านคน จะทำให้ไทยได้เปรียบในการเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวของประคมอาเซียน เนื่องจากประเทศไทยมีความพร้อมทั้งภูมิศาสตร์ ที่ติดพม่า ลาว กัมพูชา และมาเลเซีย อีกทั้งมีความพร้อมทางคมนาคมต่างๆ ทั้งทางบก ทางอากาศ ทางน้ำ  มีสถานที่ท่องเที่ยวที่มากมาย (สังเกตได้จาก เป็นประเทศถูกโหวตให้น่าท่องเที่ยวจากนิตยสารเเนะนำท่องเที่ยวบ่อยครั้ง) มีสาธานูปโภคที่ได้มาตราฐาน มีโรงเเรมระดับต่างๆมีอยู่มากมาย มีอาหาร วัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ มีความหลากหลายในสถานที่ท่องเที่ยว ชายทะเล น้ำตก ภูเขา โบราณสถาน ซึ่งเหล่านี้จะทำให้ไทยได้เปรียบประเทศอื่นๆ ในด้านการท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก

ด้านการศึกษา
ประชากรเพื่อนบ้าน อย่างเช่น ลาว พม่า เวียตนาม มาเลเซีย เเละกัมพูชาอาจมาเรียนในไทยเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากการศึกษาของประเทศไทยค่อนข้างดี หากไม่เทียบกับประเทศสิงคโปร (สังเกตได้จากประเทศไทยมักได้เหรียญทองในการเเข่งขันโอลิมปิกวิชามาอยู่บ่อยครั้ง) และไทยได้เปรียบทางภูมิศาสตร์เเละความพร้อมของมหาวิทยาลัยต่างๆมากพอสมควร ทำให้ไทยเป็นศูนย์กลางทางการศึกษาได้เป็นอย่างดี


ข้อเสีย
ด้านเกษตรกรรม
ผลผลิตทางการเกษตรของไทย อาจไม่สามารถเเข่งขันกับผลผลิตทางการเกษตรของเพื่อนบ้านได้ เนื่องจากการเกษตรของประเทศไทยมีต้นทุนการผลิตต่อไร่ค่อนข้างสูง อีกทั้งผลผลิตต่อไร่ก็มีจำนวนน้อยกว่า (ซึ่งเป็นที่ทราบกันมานาน ว่าผลผลิตต่อไร่ของข้าวไทย กับเวียตนามนั้น ประเทศเวียตนามมีผลผลิตต่อไร่สูงกว่า) เนื่องจากการเกษตกรไทยมัก จ้างคนงานทำเเทนตนเอง การใช้ปุ๋ยเคมี การใช้สารกำจัดวัชพืช การใช้สารเร่งผลผลิต ที่มีราคาค่อนข้างสูง  ส่วนของประเทศเพื่อนบ้านนั้น ส่วนใหญ่จะทำการเพาะปลูกเอง ไม่มีการว่าจ้างใด ใช้สารอินทรีเป็นส่วนใหญ่ เเละใช้เเรงงานจากสัตว์ เหมือน เกษตรกรรมของไทยในอดีต เครื่องจักรมีส่วนเกี่ยวข้องน้อย จึงทำให้ต้นทุนการผลิดต่ำกว่าไทยเป็นอย่างมาก

ด้านสาธารณสุข
การเปิดประชาคมอาเซียน ทำให้การเข้าออกของประชากร ระหว่างประเทศสามารถทำให้ได้ง่ายขึ้น ซึ่งอาจทำให้การระบาดของโรคติดต่อต่างๆเป็นไปอย่างรวดเร็ว ยกตัวอย่างเช่น การระบาดของเชื้่อ อีโคไล ในสหภาพยุโรป (EU) เป็นต้น อีกทั้งสาธารณสุขของประเทศเพื่อนบ้านนั้นยังขาดคุณภาพ หรือ ยังไม่ครอบคลุมเท่าที่ควร ยกตัวอย่างเช่น การฉีดวัคซีนป้องกันโรคต่างๆ ที่อาจทำได้ไม่ดีพอ หรือยังไม่ครอบคลุมเพียงพอ ซึ่งอาจทำให้โรคที่ประเทศไทยเเทบไม่มีการระบาด กลับมาเกิดได้อีกครั้งหนึ่ง เช่น โรคหัด (Measles) โรคโปลิโอ (Poliomyelitis) เป็นต้น

ซึ่งข้อดี ข้อเสีย มีอีกมากมายซึ่งไม่ขอกล่าวไปมากกว่านี้ สืบเนื่องจากต้องทำงานต่อซะเเล้ว ไว้มีโอกาสจะมาเขียนเพิ่มเติมนะครับ

ปล. ข้อดีข้อเสียที่กล่าวไป เป้นการวิเคราะห์โดยเป็นความคิดเห็นส่วนบุคคลนะครับ โปรดใช้วิจารณญานในการรับข้อมูล หรือควรหาข้อมูลประกอบ


Saturday 10 March 2012

นโยบาย รถคันแรก เริ่ม 1 ตุลาคม 2554 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2555

หลักเกณฑ์การคืนเงินสำหรับรถยนต์คันแรกที่สำคัญ ดังนี้คือ ต้องเป็น
1. เป็นรถยนต์คันแรกของผู้ซื้อที่ซื้อตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2554 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2555
2. เป็นรถยนต์ราคาขายปลีกไม่เกิน 1,000,000 บาท/คัน
3. เป็นรถยนต์นั่ง ขนาดความจุกระบอกสูบไม่เกิน 1,500 ลูกบาศก์เซนติเมตร/รถยนต์กระบะ (Pick up)/รถยนต์นั่งกึ่งบรรทุก (Double Cab)
4. เป็นรถยนต์ที่ผลิตขึ้นในประเทศ ไม่รวมถึงรถยนต์ที่ประกอบจากชิ้นส่วนนำเข้าใช้แล้วจากต่างประเทศ (รถยนต์จดประกอบ)
5. คืนเงินเท่ากับค่าภาษีตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท/คัน
6. ผู้ซื้อต้องมีอายุ 21 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
7. ผู้ซื้อต้องครอบครองรถยนต์ไม่น้อยกว่า 5 ปี และ
8. การคืนเงินจะคืนให้เมื่อครอบครองรถยนต์ 1 ปี ไปแล้ว (เริ่มจ่ายคืนให้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2555 เป็นต้นไป)

ส่วนวิธีการดำเนินงานนั้นกำหนดให้
1. ผู้ซื้อรถยนต์คันแรกดัง กล่าวตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2554 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2555 ต้องยื่นคำขอคืนเงินกับกรมสรรพสามิตหรือสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ พร้อมเอกสารหลักฐาน ดังนี้ หนังสือยินยอมสละสิทธิ์การโอนภายใน 5 ปี สำเนาบัตรประชาชนและทะเบียนบ้านของผู้ซื้อ สำเนาหนังสือสัญญาเช่าซื้อ (ในกรณีเช่าซื้อ)
2. กรมสรรพสามิตหรือสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่มีหนังสือถึงกรมการขนส่งทางบก หรือสำนักงานขนส่งจังหวัด เพื่อขอให้ตรวจสอบการครอบครองรถยนต์คันแรก และแจ้งการสละสิทธิ์การโอนภายใน 5 ปีของผู้ซื้อ
3. กรมการขนส่งทางบกหรือสำนักงานขนส่งจังหวัดตรวจสอบและบันทึก “ห้ามโอนภายใน 5 ปี” ลงในระบบคอมพิวเตอร์และในสมุดคู่มือการจดทะเบียน
4. กรมการขนส่งทางบกหรือสำนักงานขนส่งจังหวัด ส่งหนังสือรับรองการครอบครองรถยนต์คันแรก และสำเนาคู่มือการจดทะเบียนที่บันทึก “ห้ามโอนภายใน 5 ปี” ให้กรมสรรพสามิตหรือสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ และ
5. กรมสรรพสามิตหรือสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ตรวจสอบเอกสารหลักฐานต่าง ๆ และสั่งจ่ายเช็คให้แก่ผู้ซื้อตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2555 เป็นต้นไป.

ขอบคุณที่มาจาก www.Mthai.com

Wednesday 7 March 2012

ครม.มีมติให้ 9 เม.ย. 2555 เป็นวันหยุดราชการ งานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงศพเจ้าฟ้าเพชรรัตน์

ครม.มีมติให้ 9 เม.ย.เป็นวันหยุดราชการ งานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงศพเจ้าฟ้าเพชรรัตน์ 8-10 เม.ย.ลดธงครึ่งเสา

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติตามที่สำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอการกำหนดวันหยุดและการไว้ทุกข์ งานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงศพ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ดังนี้ ให้วันที่ 9 เมษายน 2555 เป็นวันหยุดราชการ 
และในวันที่ 8-10 เมษายน 2555 ขอความร่วมมือประชาชนไว้ทุกข์โดยทั่วกัน ให้สถานที่ราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานของรัฐ และสถานศึกษาทุกแห่ง ลดธงครึ่งเสา 
นอกจากนี้ ขอความร่วมมือสถานที่ต่างๆ ให้งดหรือลดการแสดงเพื่อความบันเทิง พร้อมกับขอความร่วมมือสถานีวิทยุและโทรทัศน์ ควบคุมดูแลรายการที่ออกอากาศให้เหมาะสม

หมายเหตุ - ถ้าหากใครสามารถลาพักร้อนในวันที่10 - 12 เมษายน ได้ จะทำให้มีวันหยุดยาว ตั้งเเต่วันที่ 6 -16 เมษายน 2555 รวมวันหยุดทั้งสิ้น 11 วัน

ขอบคุณที่มาจาก http://www.posttoday.com