Sunday 18 September 2011

วิเคราะห์ สาเหตุน้ำท่วม ปี 54

     จากสถานการณ์น้ำท่วม ปี 54 ในหลายจังหวัด เเละมีผลกระทบเป็นวงกว้าง สาเหตุที่ทุกคนอาจไม่คาดถึง หรือไม่คิดว่าจะมีความเกี่ยวข้องกันกับสาเหตุน้ำท่วมได้นั้น
     ในฐานะนักวิเคราะห์ ผมขอวิเคราะห์ ดังนี้ครับ สาเหตุที่หนึ่งมาจากการขาดการพร่องน้ำ หรือ อาจจะประมาณการกักเก็บน้ำเพื่อใช้ในช่วงฤดูเเล้งผิดพลาด ไม่สอดคล้องกับปริมาณน้ำฝนที่ตกบริเวณเหนือเขื่อน ของเขื่อนใหญ่ 2 เขื่อนในภาคเหนือ คือ เขื่อนภูมิพล เเละเขื่อนสิริกิต 
    ข้อมูลของปริมาณน้ำของเขื่่อน สิริกิต์ เเละเขื่อนภูมิพล ช่วงก่อนเเละหลังพายุต่างๆจะเข้ามีดังนี้ครับ ในวันที่ 10 พฤษภาคม 54 พบว่าปริมาณน้ำเขื่อนสิริกิต์ 51% เขื่อนภูมิพล 46% และเขื่อนป่าสัก 31% ในวันที่ 3 กรกฏาคม 54 พบว่าปริมาณน้ำเขื่อนสิริกิต์เพิ่มเป็น 65% เขื่อนภูมิพล 58% และเขื่อนป่าสัก 58%
     วันที่ 8 สิงหาคม 54 พบว่าปริมาณน้ำเขื่อนสิริกิต์เพิ่มสูงขึ้นเป็น 85% เขื่อนภูมิพล 69% และเขื่อนป่าสัก 34% จึงทำให้ช่วงหลังวันที่ 8 สิงหาคม เขื่อนขนาดใหญ่ทั้งสองเขื่อนต้องเร่งระบายน้ำลงสู่บริเวณท้ายเขื่อน ซึ่งตอนที่เริ่มระบายน้ำนั้น เขื่อนสิริกิต์(กั้นเเม่น้ำน่าน) ได้มีปริมาณน้ำตามความจุมากกว่าเขื่อนภูมิพล( แม่น้ำปิง)ถึง  16% และจำเป็นต้องระบายน้ำออกเป็นจำนวนมาก


อีกทั้งปริมาณความสามารถในการกักเก็บน้ำของเขื่่อนสิริกิต์ 9,510 ล้านลูกบาศก์เมตรน้อยกว่าเขื่อนภูิมิพล ที่สามารถกักเก็บน้ำได้ 13,462 ล้านลูกบาศก์เมตร จึงทำให้เขื่อนทั้งสองต้องเร่งปล่อยน้ำออกมามากกว่าปรกติกเพื่อป้องกันเขื่อนรองรับน้ำไม่ได้

ที่มาของเเหล่งข้อมูลอ้างอิง กระปุกดอทคอม


ส่วนสาเหตุที่สอง เนื่องจากปีนี้ พายุเข้าเป็นจำนวนมาก เเละเข้ามาเร็วกว่าปรกติ ได้แก่ "ไหหม่า" (ปลาย มิ.ย.-ก.ค.) "นกเตน"(ปลาย ก.ค.-ส.ค.) พายุโซนร้อน "ไหถ่าง" และ "เนสาด" (เดือน ก.ย.) และ "นาลแก" (เดือน ต.ค.)  ซึ่งทำให้จังหวัดทางภาคเหนือซึ่งเป็นต้นแม่น้ำเกือบทุกจังหวัดน้ำท่วม  เเละให้เขื่อนต่างๆ มีปริมาณน้ำที่มาก และระบายน้ำไม่ทัน    ปริมาณน้ำฝนทั้งหมดเขื่อนจึงไม่สามารถกั้นไว้ได้ จึงต้องปล่อยลงมายังพื้นที่หลังเขื่อนทั้งหมด ดังจะเห็นได้ดังข่าวว่า เขื่อนต่างๆเก็บกักน้ำจนถึงขั้นวิกฤติในช่วงกลางๆเดือน สิงหาคม 54  อีกทั้งเเม่น้ำยม เเม่น้ำวัง ไม่มีเขื่อนขนาดใหญ่เหมือนเเม่น้ำปิง (เขื่อนภูมิพล) เเละเเม่น้ำน่าน(เขื่อนสิริกิติ์) ในการกั้นน้ำทำให้ปริมาณน้ำฝนที่ตกบริเวณเหนือเขื่อนไหลลงสู่บริเวณลุ่มเเม่น้ำทั้งหมด


ที่มาของเเหล่งข้อมูลอ้างอิง กระปุกดอทคอม


ส่วนสาเหตุที่สาม เนื่องจากเเต่ละจังหวัดได้ทำคั้นกั้นน้ำป้องกันน้ำท่วม เปรียบเสมือนการสร้างเขื่อนขึ้นย่อยๆ สะสมปริมาณน้ำไว้เป็นจำนวนมากจนคั้นกั้นน้ำเเตก และการป้องกันพื้นที่การเกษตรเพื่อให้การเก็บเกี่ยวเเล้วเสร็จ ทำให้มีการสร้างคั้นกันน้ำเข้าสู่บริเวณพื้นที่เกษตรกรรม ทำให้ลดพื้นที่เเก้มลิงที่จะรองรับน้ำจากทางเหนือ และทำให้สะสมน้ำไว้เป็นจำนวนมาก


ที่มาของเเหล่งข้อมูลอ้างอิง กระปุกดอทคอม


ส่วนสาเหตุอื่นๆนั้นมีอีกมากมาย จึงควรหาข้อมูลอื่นๆประกอบนะครับ


หวังว่าข้อมูลนี้อาจจะช่วยนำไปประกอบการเเก้ไขอุทกภัยในครั้งต่อๆไปได้นะครับ 

ข้อมูลเพิ่มเติม เเม่น้ำเจ้าพระยาประกอบด้วยเเม่น้ำสายหลัก 4 สาย คือ ปิง วัง ยม น่าน  ร้อยละ 45 ของเเม่น้ำเจ้าพระยานั้น มาจากแม่น้ำน่าน 
ที่มาของข้อมูลอ้างอิง สถาบันและส่งเสริม และพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำ

3 comments:

  1. เป็นกำลังใจให้ทุกคนสู้ต่อไปนะคะ ^O^

    ReplyDelete
  2. ขอบคุณครับ มีประโยชน์มาก แต่ต้องหาข้อมูลแหล่งอื่นๆ มาเสริมด้วย

    ReplyDelete
  3. มีข้อสงสัย หรือสอบถามเพิ่มเติม https://www.facebook.com/piyapongpom ครับ

    ReplyDelete

เชิญร่วมแสดงความคิดเห็นต่างๆได้นะครับ