Thursday, 22 September 2011

วิเคราะห์ แนวข้อสอบบรรจุข้าราชการ ระดับปริญญาตรี โท ระดับ 3 4


วันนี้มาวิเคราะห์ข้อสอบเป็นข้าราชการกันดีกว่า เห็นเพื่อนๆหลายๆคน ของผม ถามว่าทำข้อสอบอย่างไร อ่านอย่างไร จึงบรรจุเป็นข้าราชการได้ สอบภาค ก ครั้งเดียวผ่าน เเละภาค ข กับ ค ก็สอบครั้งเเรก ครั้งเดียว เเล้วได้บรรจุเลย (แต่ก่อนทำงานเอกชน หลังๆโดนที่บ้านกดดัน เนื่องจากเป็นข้าราชการกันทั้งบ้านเลยลองสอบดูครับ ^^ ) หลังจากบรรจุได้ประมาณเกือบเดือนจึงว่างมาเขียนครับ เพื่อเป็นวิทยาทานครับ

ภาค ก นั้น ข้อสอบจะเป็นข้อสอบกากบาททั้งหมด มี 80 ข้อ แบ่งเป็นคณิตศาสตร์ 40 ข้อ บังคับผ่าน 60% คือต้องผ่านให้ได้ 24 คะเเนน ส่วนภาษาไทยก็เช่นกัน มี 40 ข้อ บังคับผ่าน 60% ต้องได้คะเเนน 24 คะเเนนขึ้นเช่นกัน รวมทั้งสองต้องได้ 48 คะเเนน และต้องได้คะเเนนอย่างต่ำท้ั้งสองส่วนอย่างละ 24 คะเเนน จึงจะผ่าน เวลาในการทำ 2 ชั่วโมง ครึ่ง

ข้อสอบ ภาค ก ข้อสอบคณิตฯ ส่วนใหญ่เป็นข้อสอบตรรกะ ใช้หลักการเเละเหตุผลในการทำข้อสอบ ความเกี่ยวเนื่อง ความสัมพันธ์กันสิ่งนี้เกิดสิ่งนั้นยอมเกิดตามมา เเละใช้หลักการวิเคราะห์เหตุเเละผล หนังสือที่ผมอ่านเตรียมสอบภาค ก ซึงเป็นหนังสือข้อสอบเเบบเก่า อ่านไปออกเพียง 5 ข้อ (เสียเวลาอ่านจริงๆ) คือ อนุกรม ประมาณ 5 ข้อ เป็นอนุกรมอย่างน้อย 2 ชั้นขึ้นไปครับ  ส่วนภาษาไทยเป็นข้อสอบความถูกต้องของการใช้คำ การเติมช่องว่างของข้อความ การเรียงประโยคก่อนเเละหลัง  ไม่มีความจำใดๆๆทั้งสิ้น คือ  ไม่มีคำราชศัพท์ คำผิดคำถูกครับ

ภาค ข เปิดรับเฉพาะตำเเหน่ง ปริญญาตรีเป็นข้อสอบกากบาท หรือข้อเขียน เเล้วเเต่หน่วยงานที่รับ วัดความรู้ที่สายเฉพาะตำเเหน่งที่บรรจุ ถ้าเป็นระดับปริญญาโทก็เช่นเดียวกัน เเต่จะเน้นหนักการทำข้อสอบข้อเขียนเป็นหลัก วัดความรู้ความเข้าใจในสายงานที่จะบรรจุ ไม่มีมั่ว หรือมั่วไปก็ไม่ถูกเหมือนข้อสอบกากบาทครับ

เคล็ดลับในการหาข้อมูลก่อนสอบนั้น ให้หาจากเว็ปของกรม กระทรวงที่เราจะสอบ
ยกตัวอย่าง ผมสอบตำเเหน่งนักวิเคราะห์นโยบายเเละเเผนปฏิบัติการ ระดับปริญญาโท ให้ไปอ่านหนังสือของกองเเผนงาน ของกรมที่เราจะบรรจุ ยิ่งได้หนังสือต่างๆที่กองเเผนเขียนขึ้นให้ทางกรมยิ่งดีครับ (ของผมค้นหาในอินเตอร์เน็ทครับ แต่เจอน้อยมาก )
ซึ่งทั้งระดับปริญญาตรี เเละโท มีคะเเนน 200 คะเเนน บังคับผ่าน 60% คุณต้องได้ 120 คะเเนนขึ้นไปครับ ถึงจะมีสิทธิสอบ ภาค ค

ภาค ค มี 100 คะเเนน เป็นการสัมภาษณ์ ถ้าบรรจุเป็นข้าราชการส่วนใหญ่จะเป็น คณะกรรมการจาก ก.พ.ร. ถ้าเป็นพนักงานราชการ ส่วนใหญ่จะเป็น กองการเจ้าหน้าที่ เเละกรรมการจากกอง สำนัก ที่เกี่ยวข้องเป็นคณะกรรมการสัมภาษณ์

การสอบสัมภาษณ์นั้น  จะวัดที่ความรู้ ว่ามีความรู้เกี่ยวกับงานที่ทำงานมีมากน้อยเพียงไร มีลักษณะนิสัยอย่างไร มีไหวพริบในการตอบคำถามหรือไม่ ซึ่งทั้งปริญญาตรี เเละโท หากมีประสบการณ์ทำงานที่เกี่ยวข้องกับตำเเหน่งที่บรรจุจะได้คะเเนนค่อนข้างสูงครับ (ในการสอบสัมภาษณ์นั้น ควรอ่านข่าวเด่นๆในช่วงนั้น หรือมีความรู้รอบตัวหน่อยนะครับ เช่น กรมมีกี่สำนัก มีกี่กอง หรือ ความรู้ทั่วไปครับ)

การผ่านเเละขึ้นบัญชี ผู้ที่ขึ้นบัญชีไว้ 2 ปีได้นั้น ต้องรวมคะเเนนจาก ภาค ข + ภาค ค เเละต้องผ่าน 60% คือต้องรวมกันได้ 180 คะเเนน จากคะเเนนเต็ม 300 คะเเนน เรียงลำดับจากคะเเนนมากลดหลั่นไปตามลำดับ(หากคะเเนนเท่ากันจะพิจารณาจากเลขที่สมัครสอบ) และจะเรียกบรรจุตามลำดับครับ

ที่เขียนมาหวังว่าจะเป็นความรู้ หรือ เป็นเเนวในการทำข้อสอบ เพื่อ บรรจุเป็นข้าราชการสมใจปรารถนานะครับ

หากมีอะไรให้ช่วยเหลือ หรือ ขอข้อมูลต่างๆเพิ่มเติม สามารถส่งอีเมล์สอบถามได้ครับ piyapongpom@hotmail.com หรือ ทาง http://facebook.com/piyapongpom ครับ

3 comments:

  1. เคยคิดจะไปสอบอยู่เหมือนกันครับ แต่จะไปทีไรงานเข้าทู๊กกกทีเลยให้ตายสิ - -"
    แต่พอลองอ่านดูแนวทางแล้วรู้สึกว่ามันไม่น่าจะอยากอย่างที่คิดนะครับ :)

    ReplyDelete
  2. ช่ายครับ ข้อสอบไม่ยากอย่างที่คิดครับ หากเราสนใจ เเล้วก็รู้เเนวทางในการอ่านครับ ^^

    ReplyDelete
  3. พนักงานราชาการคนหนึ่ง27 September 2011 at 19:13

    ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆนะครับ

    ReplyDelete

เชิญร่วมแสดงความคิดเห็นต่างๆได้นะครับ