Thursday 22 September 2011

วิเคราะห์ แนวข้อสอบบรรจุข้าราชการ ระดับปริญญาตรี โท ระดับ 3 4


วันนี้มาวิเคราะห์ข้อสอบเป็นข้าราชการกันดีกว่า เห็นเพื่อนๆหลายๆคน ของผม ถามว่าทำข้อสอบอย่างไร อ่านอย่างไร จึงบรรจุเป็นข้าราชการได้ สอบภาค ก ครั้งเดียวผ่าน เเละภาค ข กับ ค ก็สอบครั้งเเรก ครั้งเดียว เเล้วได้บรรจุเลย (แต่ก่อนทำงานเอกชน หลังๆโดนที่บ้านกดดัน เนื่องจากเป็นข้าราชการกันทั้งบ้านเลยลองสอบดูครับ ^^ ) หลังจากบรรจุได้ประมาณเกือบเดือนจึงว่างมาเขียนครับ เพื่อเป็นวิทยาทานครับ

ภาค ก นั้น ข้อสอบจะเป็นข้อสอบกากบาททั้งหมด มี 80 ข้อ แบ่งเป็นคณิตศาสตร์ 40 ข้อ บังคับผ่าน 60% คือต้องผ่านให้ได้ 24 คะเเนน ส่วนภาษาไทยก็เช่นกัน มี 40 ข้อ บังคับผ่าน 60% ต้องได้คะเเนน 24 คะเเนนขึ้นเช่นกัน รวมทั้งสองต้องได้ 48 คะเเนน และต้องได้คะเเนนอย่างต่ำท้ั้งสองส่วนอย่างละ 24 คะเเนน จึงจะผ่าน เวลาในการทำ 2 ชั่วโมง ครึ่ง

ข้อสอบ ภาค ก ข้อสอบคณิตฯ ส่วนใหญ่เป็นข้อสอบตรรกะ ใช้หลักการเเละเหตุผลในการทำข้อสอบ ความเกี่ยวเนื่อง ความสัมพันธ์กันสิ่งนี้เกิดสิ่งนั้นยอมเกิดตามมา เเละใช้หลักการวิเคราะห์เหตุเเละผล หนังสือที่ผมอ่านเตรียมสอบภาค ก ซึงเป็นหนังสือข้อสอบเเบบเก่า อ่านไปออกเพียง 5 ข้อ (เสียเวลาอ่านจริงๆ) คือ อนุกรม ประมาณ 5 ข้อ เป็นอนุกรมอย่างน้อย 2 ชั้นขึ้นไปครับ  ส่วนภาษาไทยเป็นข้อสอบความถูกต้องของการใช้คำ การเติมช่องว่างของข้อความ การเรียงประโยคก่อนเเละหลัง  ไม่มีความจำใดๆๆทั้งสิ้น คือ  ไม่มีคำราชศัพท์ คำผิดคำถูกครับ

ภาค ข เปิดรับเฉพาะตำเเหน่ง ปริญญาตรีเป็นข้อสอบกากบาท หรือข้อเขียน เเล้วเเต่หน่วยงานที่รับ วัดความรู้ที่สายเฉพาะตำเเหน่งที่บรรจุ ถ้าเป็นระดับปริญญาโทก็เช่นเดียวกัน เเต่จะเน้นหนักการทำข้อสอบข้อเขียนเป็นหลัก วัดความรู้ความเข้าใจในสายงานที่จะบรรจุ ไม่มีมั่ว หรือมั่วไปก็ไม่ถูกเหมือนข้อสอบกากบาทครับ

เคล็ดลับในการหาข้อมูลก่อนสอบนั้น ให้หาจากเว็ปของกรม กระทรวงที่เราจะสอบ
ยกตัวอย่าง ผมสอบตำเเหน่งนักวิเคราะห์นโยบายเเละเเผนปฏิบัติการ ระดับปริญญาโท ให้ไปอ่านหนังสือของกองเเผนงาน ของกรมที่เราจะบรรจุ ยิ่งได้หนังสือต่างๆที่กองเเผนเขียนขึ้นให้ทางกรมยิ่งดีครับ (ของผมค้นหาในอินเตอร์เน็ทครับ แต่เจอน้อยมาก )
ซึ่งทั้งระดับปริญญาตรี เเละโท มีคะเเนน 200 คะเเนน บังคับผ่าน 60% คุณต้องได้ 120 คะเเนนขึ้นไปครับ ถึงจะมีสิทธิสอบ ภาค ค

ภาค ค มี 100 คะเเนน เป็นการสัมภาษณ์ ถ้าบรรจุเป็นข้าราชการส่วนใหญ่จะเป็น คณะกรรมการจาก ก.พ.ร. ถ้าเป็นพนักงานราชการ ส่วนใหญ่จะเป็น กองการเจ้าหน้าที่ เเละกรรมการจากกอง สำนัก ที่เกี่ยวข้องเป็นคณะกรรมการสัมภาษณ์

การสอบสัมภาษณ์นั้น  จะวัดที่ความรู้ ว่ามีความรู้เกี่ยวกับงานที่ทำงานมีมากน้อยเพียงไร มีลักษณะนิสัยอย่างไร มีไหวพริบในการตอบคำถามหรือไม่ ซึ่งทั้งปริญญาตรี เเละโท หากมีประสบการณ์ทำงานที่เกี่ยวข้องกับตำเเหน่งที่บรรจุจะได้คะเเนนค่อนข้างสูงครับ (ในการสอบสัมภาษณ์นั้น ควรอ่านข่าวเด่นๆในช่วงนั้น หรือมีความรู้รอบตัวหน่อยนะครับ เช่น กรมมีกี่สำนัก มีกี่กอง หรือ ความรู้ทั่วไปครับ)

การผ่านเเละขึ้นบัญชี ผู้ที่ขึ้นบัญชีไว้ 2 ปีได้นั้น ต้องรวมคะเเนนจาก ภาค ข + ภาค ค เเละต้องผ่าน 60% คือต้องรวมกันได้ 180 คะเเนน จากคะเเนนเต็ม 300 คะเเนน เรียงลำดับจากคะเเนนมากลดหลั่นไปตามลำดับ(หากคะเเนนเท่ากันจะพิจารณาจากเลขที่สมัครสอบ) และจะเรียกบรรจุตามลำดับครับ

ที่เขียนมาหวังว่าจะเป็นความรู้ หรือ เป็นเเนวในการทำข้อสอบ เพื่อ บรรจุเป็นข้าราชการสมใจปรารถนานะครับ

หากมีอะไรให้ช่วยเหลือ หรือ ขอข้อมูลต่างๆเพิ่มเติม สามารถส่งอีเมล์สอบถามได้ครับ piyapongpom@hotmail.com หรือ ทาง http://facebook.com/piyapongpom ครับ

อันตรายจากข้าวมันไก่ Caution-Chicken rice

จานข้าวมันไก่ที่วางรอขายนานเกิน 4 ชั่วโมงเตือนผู้ซื้อควรร้องขอให้ผู้ขายลวกเนื้อไก่ซ้ำก่อนซื้อหรือกินเพื่อป้องกันและควบคุมอันตรายจากโรคทางเดินอาหาร

จากการสุ่มตรวจข้าวมันไก่ซึ่งนิยมบริโภคกันอย่างแพร่หลายและมีขายอยู่มากตามริมบาทวิถีทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัดโดยนางสาวปรารถนา

เกิดบัวบัณฑิตวิทยาลัยวิทยาศาสตร์การอาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

พบว่าข้าวมันไก่เป็นอาหารอีกชนิดหนึ่งที่มีการปนเปื้อนจากเชื้อจุลินทรีย์สูงแม้ว่าจะผ่านการปรุงสุกแล้วก็ตามโดยไก่ต้มตัวสุดท้ายถูกแขวนไว้รอขายนาน

8-9 ชั่วโมงจนกว่าจะปิดร้านขณะที่ FAD Food Code

แนะนำเวลาในการรอเสิร์ฟไม่ควรเกิน 4 ชั่วโมงนับตั้งแต่การปรุงสุก

สำหรับแบคทีเรียที่ตรวจพบในข้าวมันไก่ คือ

S.aureus, C.perfringens, Salmonella

โดยเฉพาะเนื้อไก่ที่ปรุงทิ้งไว้ในอุณหภูมิห้องนานเกิน 5 ชั่วโมง

เชื้อจะเจริญเติบโตเพิ่มจำนวนขึ้นมากและ พบเชื้อ

E.coliในแตงกวาปอกเปลือกทุกชิ้นที่เป็นเครื่องเคียงกินกับข้าวมันไก่คาดว่าติดมากับใบมีด

เขียงและมือที่ไม่สะอาดโดยจุลินทรีย์ที่พบสามารถก่อให้เกิดอาการคลื่นไส้

อาเจียนท้องเดิน ปวดท้องมีไข้หนาวสั่นและอ่อนเพลีย แต่ความรุนแรงของอาการที่เกิดขึ้น

จะแตกต่างไปตามปริมาณและชนิดของเชื้อที่บริโภคผู้วิจัยเสนอแนะว่ามาตรการควบคุมจำนวนจุลินทรีย์ทั้งหมดให้อยู่ในเกณฑ์คุณภาพคือ

ควรจำกัดเวลาขายไม่เกิน 4 ชั่วโมงโดยนับเวลาตั้งแต่ต้มไก่สุกจนกระทั่งขายหากเกินเวลาควรมีการอุ่นอาหารก่อนรับประทาน

ซึ่งจะเป็นทางเลือกทำให้เกิดความปลอดภัยต่อการบริโภคมากยิ่งขึ้นนอกจากนี้ผู้ขายควร ระมัดระวังการสัมผัสอาหารที่ปรุงสุกแล้วด้วยมือหรืออุปกรณ์

และภาชนะที่ไม่สะอาดเพื่อไม่ให้เกิดการปนเปื้อนจากจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรค

สำหรับจุลินทรีย์ในน้ำจิ้มข้าวมันไก่

มีค่าสูงเกินเกณฑ์คุณภาพทางจุลชีววิทยาของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์อาจเกิดจากการปนเปื้อนมาจากวัตถุดิบไม่สะอาดแต่เนื่องจากระดับ

pH ของน้ำจิ้มข้าวมันไก่วัดได้ 4.22 ขณะที่เชื้อแบคทีเรียจะเจริญได้ดีในอาหารที่มี pH

5.5-7.0ดังนั้นสภาวะในน้ำจิ้มจึงไม่เหมาะต่อการเจริญของแบคทีเรียอย่างไรก็ตามร้านค้าควรเปลี่ยนน้ำจิ้มใหม่ทุกวัน

อาหารชนิดใด ใช้เวลาย่อยนานที่สุด?

        

แต่ละมื้อที่เรากินไปบางคนอาจจะไม่รู้ว่ากว่าอาหารจะย่อยเนี่ยต้องใช้เวลากี่นาที หรือเป็นชั่วโมง วันนี้เรามาดูกันว่า

ของโปรดเราที่กินกันทุกวันเนี่ยเป็นอาหารที่ย่อยยากรึเปล่า 

     30 นาที   น้ำ กาแฟ และแกงจืด 

     1 ชั่วโมง   ขนมปังขาว โยเกิร์ต นม ผลิตภัณฑ์นม และผลไม้ที่ให้สุกด้วยการหุงต้ม 

     2 ชั่วโมง   ผลไม้ ผัก มันผรั่งบด ปลาไขมันต่ำ 

     3 ชั่วโมง ครัวซองต์ ขนมปังโฮสวีต 

     4-7 ชั่วโมง เนื้อหมู ของทอด เห็ด ผลไม้เปลือกแข็ง 

     8-9 ชั่วโมง ขาหมู ผักกะหล่ำ

Sunday 18 September 2011

วิเคราะห์ สาเหตุน้ำท่วม ปี 54

     จากสถานการณ์น้ำท่วม ปี 54 ในหลายจังหวัด เเละมีผลกระทบเป็นวงกว้าง สาเหตุที่ทุกคนอาจไม่คาดถึง หรือไม่คิดว่าจะมีความเกี่ยวข้องกันกับสาเหตุน้ำท่วมได้นั้น
     ในฐานะนักวิเคราะห์ ผมขอวิเคราะห์ ดังนี้ครับ สาเหตุที่หนึ่งมาจากการขาดการพร่องน้ำ หรือ อาจจะประมาณการกักเก็บน้ำเพื่อใช้ในช่วงฤดูเเล้งผิดพลาด ไม่สอดคล้องกับปริมาณน้ำฝนที่ตกบริเวณเหนือเขื่อน ของเขื่อนใหญ่ 2 เขื่อนในภาคเหนือ คือ เขื่อนภูมิพล เเละเขื่อนสิริกิต 
    ข้อมูลของปริมาณน้ำของเขื่่อน สิริกิต์ เเละเขื่อนภูมิพล ช่วงก่อนเเละหลังพายุต่างๆจะเข้ามีดังนี้ครับ ในวันที่ 10 พฤษภาคม 54 พบว่าปริมาณน้ำเขื่อนสิริกิต์ 51% เขื่อนภูมิพล 46% และเขื่อนป่าสัก 31% ในวันที่ 3 กรกฏาคม 54 พบว่าปริมาณน้ำเขื่อนสิริกิต์เพิ่มเป็น 65% เขื่อนภูมิพล 58% และเขื่อนป่าสัก 58%
     วันที่ 8 สิงหาคม 54 พบว่าปริมาณน้ำเขื่อนสิริกิต์เพิ่มสูงขึ้นเป็น 85% เขื่อนภูมิพล 69% และเขื่อนป่าสัก 34% จึงทำให้ช่วงหลังวันที่ 8 สิงหาคม เขื่อนขนาดใหญ่ทั้งสองเขื่อนต้องเร่งระบายน้ำลงสู่บริเวณท้ายเขื่อน ซึ่งตอนที่เริ่มระบายน้ำนั้น เขื่อนสิริกิต์(กั้นเเม่น้ำน่าน) ได้มีปริมาณน้ำตามความจุมากกว่าเขื่อนภูมิพล( แม่น้ำปิง)ถึง  16% และจำเป็นต้องระบายน้ำออกเป็นจำนวนมาก


อีกทั้งปริมาณความสามารถในการกักเก็บน้ำของเขื่่อนสิริกิต์ 9,510 ล้านลูกบาศก์เมตรน้อยกว่าเขื่อนภูิมิพล ที่สามารถกักเก็บน้ำได้ 13,462 ล้านลูกบาศก์เมตร จึงทำให้เขื่อนทั้งสองต้องเร่งปล่อยน้ำออกมามากกว่าปรกติกเพื่อป้องกันเขื่อนรองรับน้ำไม่ได้

ที่มาของเเหล่งข้อมูลอ้างอิง กระปุกดอทคอม


ส่วนสาเหตุที่สอง เนื่องจากปีนี้ พายุเข้าเป็นจำนวนมาก เเละเข้ามาเร็วกว่าปรกติ ได้แก่ "ไหหม่า" (ปลาย มิ.ย.-ก.ค.) "นกเตน"(ปลาย ก.ค.-ส.ค.) พายุโซนร้อน "ไหถ่าง" และ "เนสาด" (เดือน ก.ย.) และ "นาลแก" (เดือน ต.ค.)  ซึ่งทำให้จังหวัดทางภาคเหนือซึ่งเป็นต้นแม่น้ำเกือบทุกจังหวัดน้ำท่วม  เเละให้เขื่อนต่างๆ มีปริมาณน้ำที่มาก และระบายน้ำไม่ทัน    ปริมาณน้ำฝนทั้งหมดเขื่อนจึงไม่สามารถกั้นไว้ได้ จึงต้องปล่อยลงมายังพื้นที่หลังเขื่อนทั้งหมด ดังจะเห็นได้ดังข่าวว่า เขื่อนต่างๆเก็บกักน้ำจนถึงขั้นวิกฤติในช่วงกลางๆเดือน สิงหาคม 54  อีกทั้งเเม่น้ำยม เเม่น้ำวัง ไม่มีเขื่อนขนาดใหญ่เหมือนเเม่น้ำปิง (เขื่อนภูมิพล) เเละเเม่น้ำน่าน(เขื่อนสิริกิติ์) ในการกั้นน้ำทำให้ปริมาณน้ำฝนที่ตกบริเวณเหนือเขื่อนไหลลงสู่บริเวณลุ่มเเม่น้ำทั้งหมด


ที่มาของเเหล่งข้อมูลอ้างอิง กระปุกดอทคอม


ส่วนสาเหตุที่สาม เนื่องจากเเต่ละจังหวัดได้ทำคั้นกั้นน้ำป้องกันน้ำท่วม เปรียบเสมือนการสร้างเขื่อนขึ้นย่อยๆ สะสมปริมาณน้ำไว้เป็นจำนวนมากจนคั้นกั้นน้ำเเตก และการป้องกันพื้นที่การเกษตรเพื่อให้การเก็บเกี่ยวเเล้วเสร็จ ทำให้มีการสร้างคั้นกันน้ำเข้าสู่บริเวณพื้นที่เกษตรกรรม ทำให้ลดพื้นที่เเก้มลิงที่จะรองรับน้ำจากทางเหนือ และทำให้สะสมน้ำไว้เป็นจำนวนมาก


ที่มาของเเหล่งข้อมูลอ้างอิง กระปุกดอทคอม


ส่วนสาเหตุอื่นๆนั้นมีอีกมากมาย จึงควรหาข้อมูลอื่นๆประกอบนะครับ


หวังว่าข้อมูลนี้อาจจะช่วยนำไปประกอบการเเก้ไขอุทกภัยในครั้งต่อๆไปได้นะครับ 

ข้อมูลเพิ่มเติม เเม่น้ำเจ้าพระยาประกอบด้วยเเม่น้ำสายหลัก 4 สาย คือ ปิง วัง ยม น่าน  ร้อยละ 45 ของเเม่น้ำเจ้าพระยานั้น มาจากแม่น้ำน่าน 
ที่มาของข้อมูลอ้างอิง สถาบันและส่งเสริม และพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำ

Wednesday 7 September 2011

ประกาศ ผลการสอบ ก.พ. ภาค ก ประจำปี 2554