เด็กอายุ 7 ปี ต้องไปทำบัตรประชาชน กฎหมายบังคับใช้ 9 ก.ค. 2554
วันที่ 11 พ.ค. 2554 ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่พระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2554 โดยกฎหมายฉบับนี้จะมีผลบังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราช กิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (วันที่ 9 กรกฎาคม 2554 )
สาระ สำคัญของกฎหมายคือ การกำหนดให้ผู้มีสัญชาติไทยซึ่งมีอายุตั้งแต่เจ็ดปีบริบูรณ์ แต่ไม่เกินเจ็ดสิบปีบริบูรณ์ และมีชื่อในทะเบียนบ้านต้องมีบัตรตามที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้
ทั้งนี้ บัตรให้ใช้ได้นับแต่วันออกบัตรและมีอายุแปดปีนับแต่วันเกิดของผู้ถือบัตรที่ ถึงกำหนดภายหลังจากวันออกบัตร
บัตรที่ยังไม่หมดอายุในวันที่ผู้ถือบัตรมีอายุครบเจ็ดสิบปีบริบูรณ์ ให้ใช้บัตรนั้นต่อไปได้ตลอดชีวิต
สำหรับอัตราค่าธรรมเนียม
(1) การออกบัตร ฉบับละ 100 บาท
(2) การออกใบแทนใบรับ ฉบับละ 10 บาท
(3) การขอคัดและรับรองสำเนาข้อมูลเกี่ยวกับบัตร ฉบับละ 10 บาท
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรกำหนดให้ผู้มีสัญชาติไทย ทุกคนต้องมีบัตรประจำตัวประชาชนไว้ใช้แสดงตนเพื่อประโยชน์ในการเข้ารับ บริการสาธารณะของรัฐ จึงได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการการออกบัตรประจำตัวประชาชน เพื่อให้สอดคล้องกับการที่รัฐจะนำ เทคโนโลยีมาใช้ในการบริการประชาชนในด้านต่าง ๆ ผ่านทางบัตรประจำตัวประชาชน เพื่อประโยชน์ของผู้ถือบัตรประจำตัวประชาชน
ก่อนหน้านี้มีเสียงจากสภาแว่วมาดังๆ ว่า ได้มีการพิจารณารับร่าง พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชนตามที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) เนื้อความสำคัญของร่าง พ.ร.บ. นี้ คือจะแก้กฎหมายให้เด็กที่เกิดมามีอายุครบ 1 ปี นับแต่วันเกิด หรือ 60 วัน นับแต่วันได้สัญชาติไทย สำหรับผู้ไม่ได้สัญชาติไทยโดยการเกิดหรือได้กลับคืนสัญชาติไทยตามกฎหมายว่า ด้วยสัญชาติ ต้องมีบัตรประชาชน นอกจากนั้นยังระบุด้วยว่า ให้ใช้บัตรนั้นได้นับแต่วันออกบัตรและมีอายุ 10 ปีนับแต่วันเกิดของผู้ถือบัตร รวมทั้งตัดเงื่อนไขการมีชื่อในทะเบียนบ้านออก
ท้ายที่สุดที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ได้ลงมติให้ความเห็นชอบด้วยคะแนนเสียง 222 ต่อ 81 เสียง งดออกเสียง 5 และไม่ลงคะแนน 13 เสียง
นั่นแสดงว่าหากแก้กฎหมายใหม่นี้สำเร็จ เด็กที่มีอายุไม่ถึง 15 ปี ต้องเดินหน้าเข้าคิวไปทำบัตรประจำตัวประชาชนซึ่งมีค่าธรรมเนียมทำบัตรอยู่ ที่ 60 บาท และหากเด็กคนใดไม่ไปทำบัตรผู้ปกครองก็จะถูกปรับเงิน 500 บาท นั่นคือกฎเกณฑ์บังคับเบื้องต้น
บัตรเด็กนี้อาจจะแตกต่างออกไป เพราะนอกจากจะมีรายการตามที่กำหนดไว้แล้ว อาจจะมีหน่วยความจำ เพื่อบันทึกข้อมูลอื่นของผู้ถือบัตรด้วย แต่ข้อมูลที่บันทึกไว้ในหน่วยความจำดังกล่าว ต้องไม่สามารถเปิดเผยต่อบุคคลหรือหน่วยงาน ซึ่งไม่ใช่เป็นผู้จัดทำ หรือรวบรวมข้อมูลนั้น ๆ ไว้ เว้นแต่เป็นข้อมูลทั่วไปที่ปรากฏอยู่บนบัตร หรือเป็นการเปิดเผยต่อหน่วยงานที่มีความจำเป็นต้องทราบข้อมูลนั้นเท่าที่จำ เป็น เพื่อเป็นประโยชน์ของผู้ถือบัตร และระบุระยะเวลาการบังคับใช้ในวาระเริ่มแรก แต่ไม่เกิน 2 ปี นับแต่ พ.ร.บ.ฉบับนี้ บังคับใช้
วันที่ 11 พ.ค. 2554 ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่พระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2554 โดยกฎหมายฉบับนี้จะมีผลบังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราช กิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (วันที่ 9 กรกฎาคม 2554 )
สาระ สำคัญของกฎหมายคือ การกำหนดให้ผู้มีสัญชาติไทยซึ่งมีอายุตั้งแต่เจ็ดปีบริบูรณ์ แต่ไม่เกินเจ็ดสิบปีบริบูรณ์ และมีชื่อในทะเบียนบ้านต้องมีบัตรตามที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้
ทั้งนี้ บัตรให้ใช้ได้นับแต่วันออกบัตรและมีอายุแปดปีนับแต่วันเกิดของผู้ถือบัตรที่ ถึงกำหนดภายหลังจากวันออกบัตร
บัตรที่ยังไม่หมดอายุในวันที่ผู้ถือบัตรมีอายุครบเจ็ดสิบปีบริบูรณ์ ให้ใช้บัตรนั้นต่อไปได้ตลอดชีวิต
สำหรับอัตราค่าธรรมเนียม
(1) การออกบัตร ฉบับละ 100 บาท
(2) การออกใบแทนใบรับ ฉบับละ 10 บาท
(3) การขอคัดและรับรองสำเนาข้อมูลเกี่ยวกับบัตร ฉบับละ 10 บาท
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรกำหนดให้ผู้มีสัญชาติไทย ทุกคนต้องมีบัตรประจำตัวประชาชนไว้ใช้แสดงตนเพื่อประโยชน์ในการเข้ารับ บริการสาธารณะของรัฐ จึงได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการการออกบัตรประจำตัวประชาชน เพื่อให้สอดคล้องกับการที่รัฐจะนำ เทคโนโลยีมาใช้ในการบริการประชาชนในด้านต่าง ๆ ผ่านทางบัตรประจำตัวประชาชน เพื่อประโยชน์ของผู้ถือบัตรประจำตัวประชาชน
ก่อนหน้านี้มีเสียงจากสภาแว่วมาดังๆ ว่า ได้มีการพิจารณารับร่าง พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชนตามที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) เนื้อความสำคัญของร่าง พ.ร.บ. นี้ คือจะแก้กฎหมายให้เด็กที่เกิดมามีอายุครบ 1 ปี นับแต่วันเกิด หรือ 60 วัน นับแต่วันได้สัญชาติไทย สำหรับผู้ไม่ได้สัญชาติไทยโดยการเกิดหรือได้กลับคืนสัญชาติไทยตามกฎหมายว่า ด้วยสัญชาติ ต้องมีบัตรประชาชน นอกจากนั้นยังระบุด้วยว่า ให้ใช้บัตรนั้นได้นับแต่วันออกบัตรและมีอายุ 10 ปีนับแต่วันเกิดของผู้ถือบัตร รวมทั้งตัดเงื่อนไขการมีชื่อในทะเบียนบ้านออก
ท้ายที่สุดที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ได้ลงมติให้ความเห็นชอบด้วยคะแนนเสียง 222 ต่อ 81 เสียง งดออกเสียง 5 และไม่ลงคะแนน 13 เสียง
นั่นแสดงว่าหากแก้กฎหมายใหม่นี้สำเร็จ เด็กที่มีอายุไม่ถึง 15 ปี ต้องเดินหน้าเข้าคิวไปทำบัตรประจำตัวประชาชนซึ่งมีค่าธรรมเนียมทำบัตรอยู่ ที่ 60 บาท และหากเด็กคนใดไม่ไปทำบัตรผู้ปกครองก็จะถูกปรับเงิน 500 บาท นั่นคือกฎเกณฑ์บังคับเบื้องต้น
บัตรเด็กนี้อาจจะแตกต่างออกไป เพราะนอกจากจะมีรายการตามที่กำหนดไว้แล้ว อาจจะมีหน่วยความจำ เพื่อบันทึกข้อมูลอื่นของผู้ถือบัตรด้วย แต่ข้อมูลที่บันทึกไว้ในหน่วยความจำดังกล่าว ต้องไม่สามารถเปิดเผยต่อบุคคลหรือหน่วยงาน ซึ่งไม่ใช่เป็นผู้จัดทำ หรือรวบรวมข้อมูลนั้น ๆ ไว้ เว้นแต่เป็นข้อมูลทั่วไปที่ปรากฏอยู่บนบัตร หรือเป็นการเปิดเผยต่อหน่วยงานที่มีความจำเป็นต้องทราบข้อมูลนั้นเท่าที่จำ เป็น เพื่อเป็นประโยชน์ของผู้ถือบัตร และระบุระยะเวลาการบังคับใช้ในวาระเริ่มแรก แต่ไม่เกิน 2 ปี นับแต่ พ.ร.บ.ฉบับนี้ บังคับใช้
แหล่งที่มา : มติชนออนไลน์ อัพเดท : 12-05-2554 09:28 น.
No comments:
Post a Comment
เชิญร่วมแสดงความคิดเห็นต่างๆได้นะครับ