นับวันอากาศยิ่งร้อนขึ้นทุกวันทุกปี วันนี้จึงขอนำข้อมูลโรคจากความร้อนมาประชาสัมพันธ์ครับ
โรคจากความร้อนที่สำคัญ ได้แก่
1.โรคลมแดด (Heat Stroke) เป็นโรคที่เกิดจากความร้อนที่มีอาการรุนแรงที่สุด อาจเสียชีวิตได้ สาเหตุเนื่องจากระบบการควบคุมอุณหภูมิของร่างกายไม่ทำงานในสภาวะอากาศที่ร้อนจัด ผู้ป่วยจะมีอุณหภูมิของร่ายการสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส ผิวหนังแดง ร้อน และแห้ง ไม่มีเหงื่อ ชีพจรเต้นแรงเร็ว ปวดหัวตุบๆ วิงเวียน คลื่นไส้ ไม่รู้สึกตัว ต้องรีบปฐมพยาบาลเบื้องต้นโดยนำผู้ป่วยเข้าในที่ร่มทันที ใช้ผ้าชุบน้ำเย็น เช็ดตามตัวหรือห่อตัว รีบทำให้ร่างกายเย็นโดยเร็ว ห้ามดื่มน้ำในรายที่ไม่รู้สึกตัว หากมีอาการชักให้จับนอนตะแคงเพื่อป้องกันอุบัติเหตุและการสำลักจากการอาเจียน ห้ามใช้วัสดุ เช่น ช้อน ส้อม ใส่ในปาก และรีบพาไปพบแพทย์ทันที
2.โรคเพลียแดด (Heat Exhaustion) เป็นโรคที่เกิดในขณะที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิสูง ทำให้ร่างกายมีอุณหภูมิสูงกว่า 37 องศาเซลเซียส ผู้ป่วยจะมีอาการเหงื่อออกมาก หน้าซีด เหนื่อย อ่อนแรง วิงเวียน ปวดหัว อาเจียน เป็นลม กล้ามเนื้อเกร็ง การช่วยเหลือ ควรให้ดื่มน้ำเปล่าเย็น และเช็ดตัวด้วยน้ำเย็น ถ้าเป็นไปได้พาเข้าไปอยู่ในห้องที่มีเครื่องปรับอากาศ หรือใต้ร่มไม้
3.โรคตะคริวแดด (Heat Cramps) มักเกิดในคนเสียเหงื่อมาก ระหว่างทำงานหนัก หรือออกกำลังกาย ร่างกายสูญเสียน้ำและเกลือแร่ ส่งผลให้เป็นตะคริว ผู้ป่วยจะปวดกล้ามเนื้อ เกร็งบริเวณหน้าท้อง แขนหรือขา การช่วยเหลือควรหยุดการใช้แรงทันที พาเข้าในที่ร่มหรือที่มีเครื่องปรับอากาศ ดื่มน้ำผลไม้ หรือเครื่องดื่มที่มีเกลือแร่ ถ้าอาการไม่ดีภายใน 1 ชั่วโมง ให้รีบไปพบแพทย์ทันที
4.ผิวหนังไหม้แดด (Sunburn) ผู้ป่วยจะมีผิวหนังเป็นรอยแดง ปวดแสบร้อนเล็กน้อย โดยทั่วไปจะหายได้เองภายใน 1 สัปดาห์ ห้ามเจาะตุ่มน้ำที่พอง ให้ประคบเย็น ทาโลชั่นเพื่อให้ความชุ่มชื้น หากเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี จะมีตุ่มพองน้ำใส ปวดรุนแรง ให้ไปพบแพทย์เช่นกัน
ที่มา : กรมควบคุมโรค
Friday, 22 March 2013
Friday, 1 March 2013
ระวัง! โรคติดต่อที่อาจแพร่ระบาดข้ามพรมแดน
โรคติดต่อที่อาจแพร่ระบาดข้ามพรมแดน
ได้แก่
1.โรคติดต่อจากคนสู่คนโดยตรง เช่น วัณโรค โรคเอดส์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
2.โรคติดต่อนำโดยแมลง เช่น โรคมาลาเรีย โรคเท้าช้าง
3.โรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน เช่น โรคโปลิโอ โรคคอตีบ โรคหัด
4.โรคติดต่ออุบัติใหม่และโรคที่สำคัญอื่นๆเช่นโรคไข้หวัดนก โรคมือ เท้า ปาก โรคอุจจาระร่วง และโรคเรื้อน เป็นต้น
ที่มา : กรมควบคุมโรค
1.โรคติดต่อจากคนสู่คนโดยตรง เช่น วัณโรค โรคเอดส์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
2.โรคติดต่อนำโดยแมลง เช่น โรคมาลาเรีย โรคเท้าช้าง
3.โรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน เช่น โรคโปลิโอ โรคคอตีบ โรคหัด
4.โรคติดต่ออุบัติใหม่และโรคที่สำคัญอื่นๆเช่นโรคไข้หวัดนก โรคมือ เท้า ปาก โรคอุจจาระร่วง และโรคเรื้อน เป็นต้น
ที่มา : กรมควบคุมโรค
Monday, 18 February 2013
6 อาการผิดปกติ ที่ไม่ธรรมดา
อายุรแพทย์จากโรงพยาบาลชั้นนำในสหรัฐฯ
ต่างก็ยกให้ 6 อาการผิดปกติเหล่านี้อันตรายต่อสุขภาพ
และไม่ควรเพิกเฉย
เพราะจากแค่อาการผิดปกติเล็กน้อยที่ดูเหมือนไม่จำเป็นต้องไปพบแพทย์
แต่ถ้ามีอาการหนักขึ้นและเป็นเรื้อรังนานกว่าปกติ
อาจหมายถึงการมาเยือนของโรคร้ายก็ได้
1.แค่นอนไม่หลับ อาจกลายเป็น โรคหัวใจ
เป็นอาการผิดปกติอันดับหนึ่งที่ควรบอกแพทย์
เพราะการนอนไม่หลับเพียงแค่ 1 คืนก็มีผลต่อหัวใจได้
ตั้งแต่การที่เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงหัวใจไม่เพียงพอ จนถึงขั้นอาการหัวใจขาดเลือด
หากมีอาการนอนไม่หลับอยู่บ่อยครั้งควรไปปรึกษาแพทย์
เพราะหากปล่อยทิ้งไว้อาจเสี่ยงเป็นโรคหัวใจได้ในที่สุด
2.แค่ท้องผูก อาจกลายเป็น
โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
อาการท้องผูก คือ
การถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์
เนื่องจากปัจจัยบางอย่างขัดขวางการทำงานของลำไส้
ทำให้กากอาหารผ่านลำไส้ใหญ่ได้ช้าลง ซึ่งถ้ามีอาการท้องผูกเรื้อรัง (นานกว่า 3
สัปดาห์) ควรไปปรึกษาแพทย์
เพราะอาจเสี่ยงเป็นโรคคริดสีดวงทวารหนัก และโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้
3.แค่ปวดหัว อาจกลายเป็น
เยื่อหุ้มสมองอักเสบ
ถ้ามีอาการปวดหัวที่ร่วมด้วยมีไข้
ปวดเมื่อยคอ คลื่นไส้อาเจียนติดต่อกันเป็นเวลานาน (2-3 วัน)
ให้สันนิษฐานไว้ว่า ไม่ได้เป็นแค่อาการปวดหัวธรรมดาแน่นอน
โดยเฉพาะอาการปวดหัวที่เพิ่มมากขึ้น แขนขาอ่อนแรง พูดไม่ชัด มีปัญหาเรื่องการมอง
และมีอาการปวดต่อเนื่องนานกว่า 2-4 ชั่วโมงควรไปปรึกษาแพทย์
เพราะนี่อาจเป็นสัญญาณเตือนถึงความผิดปกติของสมองที่ติดเชื้อที่ระบบประสาทส่วนกลาง
ซึ่งเสี่ยงเป็นโรคหุ้มสมองอักเสบได้ในเวลาต่อมา
4.แค่ปวดฟัน อาจกลายเป็น ตาบอด
หากหลังจากไปถอนฟันแล้วคุณยังมีอาการปวดฟันอยู่
และมีอาการอื่นร่วมด้วยเช่น ปวดกราม ปวดหน้านานเกินกว่า 7 วันควรไปพบแพทย์
เพราะอาจเป็นไปได้ว่าเส้นประสาทบริเวณใบหน้ากดทับกันอยู่
และถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง อาการอาจรุนแรงจนถึงข้นตาบอดได้
5. แค่ท้องเสีย อาจกลายเป็น ลำไส้อักเสบ
อาการท้องเสียติดต่อกันนานหลายวัน
เป็นสัญญาณเตือนให้ระวังไว้ว่าร่างกายของคุณไม่ปกติอีกต่อไป
อาจเป็นไปได้ว่าลำไส้ติดเชื้อปรสิต เป็นโรคโครนส์ (Crohn’s Disease) หรือลำไส้อุดตันบางส่วน
มะเร็ง ตับอ่อนมีปัญหา ถุงน้ำดีมีปัญหา ดังนั้นเมื่อท้องเสียติดต่อกันนานเกิน 3
วันควรไปปรึกษาแพทย์
หลีกเลี่ยงการกินยาฆ่าเชื้อ
เพราะส่วนประกอบบางชนิดในยาอาจฆ่าแบคทีเรียที่มีประโยชน์กับลำไส้ใหญ่ไปด้วย
ซึ่งจะทำให้อาการแย่ลงกว่าเดิม
6.แค่กรดไหลย้อน อาจกลายเป็น
มะเร็งหลอดอาหาร
กรดไหลย้อนอาจมีสาเหตุมาจากอาการแสบร้อนกลางอก
ฟันผุ และโรคหวัด
ซึ่งสาเหตุเหล่านี้มีผลโดยตรงต่อช่องท้องทุกครั้งที่มีการหายใจเข้าสู่ปอด
และส่งผลให้เชื้อโรคกระจายติดไปทั่ว เนื่องจากการไหลย้อนของกรด
ถ้ากระเพาะมีกรดมากอาจไหลล้นขึ้นมาถึงบริเวณหลอดอาหาร ทำให้มีผลต่อกล่องเสียง ลำคอ
และปอดได้ หากมีอาการเรื้อรัง
แต่ละเลยไม่ไปพบแพทย์อาจนำไปสู่โรคมะเร็งหลอดอาหารได้
ที่มา : เว็บไซต์ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
Wednesday, 13 February 2013
ระวัง! 6 โรค ที่มากับหน้าร้อน
6 โรค ที่มากับหน้าร้อน และพบได้บ่อย
ช่วงนี้อากาศร้อนขึ้นทุกวัน ซึ่งจะเข้าสู่หน้าร้อนในไม่ช้า วันนี้จึงขอนำข้อมูล 6 โรค ที่มักมากับหน้าร้อน และพบได้บ่อยเป็นประจำทุกปี เเละเกี่ยวข้องกับสำนักฯที่ผมทำงานอยู่ถึง 5 โรคของ 2 กลุ่มงาน คือ กลุ่มโรคติดต่อทางอาหารและน้ำ เเละกลุ่มโรคติดต่อระหว่างสัตว์เเละคน มาให้รับทราบเพื่อป้องกันตนเองจากการเจ็บป่วย ดังนี้
1.โรคอุจจาระร่วง (Acute Diarrhea) การติดต่อโรคดังกล่าว เกิดจากการกินอาหารหรือดื่มน้ำที่เชื้อมีปนเปื้อน เช่น อาหารที่ปรุงสุก ๆ ดิบ ๆ อาหารที่มีแมลงวันตอม หรืออาหารที่ทำไว้ล่วงหน้านาน ๆ อาการส่วนใหญ่ของผู้ป่วย มักถ่ายอุจจาระเหลวเป็นน้ำหรือมีมูกเลือดปน ปวดท้อง คลื่นไส้อาเจียน ซึ่งการดูแลผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วงในระยะแรก ควรให้ผู้ป่วยดื่มน้ำหรืออาหารเหลวมาก ๆ อาทิ น้ำข้าว น้ำแกงจืด และดื่มสารละลายน้ำตาลเกลือแร่ และถ้าอาการไม่ดีขึ้น ยังไม่หยุดถ่ายเหลว ให้รีบไปพบแพทย์
2. โรคอาหารเป็นพิษ (Food Poisoning) เป็นโรคทางเดินอาหารที่พบบ่อยมาก เนื่องจากสารพิษ (Toxin) จากแบคทีเรียตกค้างอยู่ในอาหารที่ไม่สะอาดพอ สุก ๆ ดิบ ๆ หรือบูดเสีย ทำให้เกิดปัญหาท้องเสียได้ สำหรับการรักษาส่วนใหญ่หากเป็นไม่มาก จะถ่ายเป็นน้ำไม่มีมูกเลือด ไม่มีไข้ หายได้เอง แต่ถ้าเป็นมากต้องได้รับน้ำเกลือเสริม อาจอยู่ในรูปแบบของการดื่ม หรือการให้ทางเส้นเลือดแล้วแต่ความรุนแรง
3.โรคบิด (Dysentery) เกิดจากเชื้อแบคทีเรียเข้าสู่ร่างกายผ่านการรับประทาน เช่น การรับประทานอาหาร น้ำ ที่ปนเปื้อนเชื้อโรค อาหารดิบ ๆ สุก ๆ หรืออาหารที่มีแมลงวันตอม ดังนั้นไม่ว่าเด็ก ผู้ใหญ่ เพศไหน วัยใดก็สามารถเป็น โรคบิด ได้ทั้งนั้น โดยผู้ป่วยจะมีอาการปวดบิดในท้อง ต่อมาจะเริ่มไข้ขึ้น และถ่ายเหลว รวมถึงอาจปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว คลื่นไส้ อาเจียน ซึ่งอาการท้องเดินเป็นบิด จะหายได้เองภายใน 5-7 วัน ในคนที่ไม่ได้ทานยา แต่บางรายก็อาจมีอาการกลับมาใหม่ได้อีก
4.ไทฟอยด์ (Typhoid) การติดต่อมักเกิดจากการปนเปื้อนของเชื้อในอาหารหรือน้ำดื่ม ซึ่งไข้ไทฟอยด์จะมีอาการแบบเฉียบพลัน รายที่เป็นรุนแรงอาจเสียชีวิตได้ อาการของโรคจะมีไข้ ปวดเนื้อปวดตัว คลื่นไส้ หัวใจเต้นช้าลง (โดยทั่วไปแล้วเวลามีไข้จะเต้นเร็วขึ้น) หากให้แพทย์ตรวจอาจพบว่าม้ามโต บริเวณใต้ชายโครงด้านซ้าย ต้องใช้การตรวจเลือดยืนยันว่าเป็นโรคนี้จริง ส่วนการป้องกันสามารถทำได้โดยการใช้วัคซีน ซึ่งมีทั้งในรูปของการรับประทานหรือฉีด แต่การป้องกันไม่สามารถป้องกันได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ ดังนั้น วิธีที่ดีที่สุดคือการระมัดระวังเรื่องอาหารและน้ำดื่ม
5.อหิวาตกโรค (Cholera) โดยทั่วไปคนส่วนใหญ่ที่ติดเชื้ออหิวาต์ จะไม่มีอาการหรือมีไม่มาก แต่ในรายที่ติดเชื้อรุนแรง อาจเสียชีวิตได้ในเวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมงหลังเกิดอาการ เนื่องจากมีการสูญเสียของน้ำและเกลือแร่ในปริมาณมาก โรคนี้ติดต่อได้โดยการรับประทานอาหารหรือน้ำดื่มที่มีเชื้อเข้าไป การรักษาควรทดแทนน้ำและเกลือแร่ที่สูญเสียไป กับการถ่ายอุจจาระและการอาเจียน เช่น ให้ผู้ป่วยดื่มน้ำเกลือ แต่หากรุนแรงต้องให้ทางเส้นเลือด ควบคู่กับการใช้ยาปฏิชีวนะ
6.โรคพิษสุนัขบ้า (Rabies) โรคติดต่อร้ายแรงจากสัตว์สู่คน ไม่มียารักษาให้หายขาดได้ เพราะโรคดังกล่าวติดต่อจากการถูกสัตว์ที่มีเชื้อโรคพิษสุนัขบ้ากัด ข่วน หรือเลียบริเวณที่มีแผลอยู่แล้ว หรือน้ำลายของสัตว์กระเด็นเข้าตา ปาก จมูก ทั้งนี้ วิธีป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าที่ดีที่สุดก็คือ ให้นำสัตว์เลี้ยงไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าปีละครั้ง เริ่มฉีดเมื่ออายุ 2-4 เดือน และหากถูกสุนัขหรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกัด หรือข่วน ให้รีบล้างแผลด้วยสบู่และน้ำสะอาดหลาย ๆ ครั้ง เช็ดให้แห้ง แล้วใส่ยารักษาแผลสด และรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้อง
1.โรคอุจจาระร่วง (Acute Diarrhea) การติดต่อโรคดังกล่าว เกิดจากการกินอาหารหรือดื่มน้ำที่เชื้อมีปนเปื้อน เช่น อาหารที่ปรุงสุก ๆ ดิบ ๆ อาหารที่มีแมลงวันตอม หรืออาหารที่ทำไว้ล่วงหน้านาน ๆ อาการส่วนใหญ่ของผู้ป่วย มักถ่ายอุจจาระเหลวเป็นน้ำหรือมีมูกเลือดปน ปวดท้อง คลื่นไส้อาเจียน ซึ่งการดูแลผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วงในระยะแรก ควรให้ผู้ป่วยดื่มน้ำหรืออาหารเหลวมาก ๆ อาทิ น้ำข้าว น้ำแกงจืด และดื่มสารละลายน้ำตาลเกลือแร่ และถ้าอาการไม่ดีขึ้น ยังไม่หยุดถ่ายเหลว ให้รีบไปพบแพทย์
2. โรคอาหารเป็นพิษ (Food Poisoning) เป็นโรคทางเดินอาหารที่พบบ่อยมาก เนื่องจากสารพิษ (Toxin) จากแบคทีเรียตกค้างอยู่ในอาหารที่ไม่สะอาดพอ สุก ๆ ดิบ ๆ หรือบูดเสีย ทำให้เกิดปัญหาท้องเสียได้ สำหรับการรักษาส่วนใหญ่หากเป็นไม่มาก จะถ่ายเป็นน้ำไม่มีมูกเลือด ไม่มีไข้ หายได้เอง แต่ถ้าเป็นมากต้องได้รับน้ำเกลือเสริม อาจอยู่ในรูปแบบของการดื่ม หรือการให้ทางเส้นเลือดแล้วแต่ความรุนแรง
3.โรคบิด (Dysentery) เกิดจากเชื้อแบคทีเรียเข้าสู่ร่างกายผ่านการรับประทาน เช่น การรับประทานอาหาร น้ำ ที่ปนเปื้อนเชื้อโรค อาหารดิบ ๆ สุก ๆ หรืออาหารที่มีแมลงวันตอม ดังนั้นไม่ว่าเด็ก ผู้ใหญ่ เพศไหน วัยใดก็สามารถเป็น โรคบิด ได้ทั้งนั้น โดยผู้ป่วยจะมีอาการปวดบิดในท้อง ต่อมาจะเริ่มไข้ขึ้น และถ่ายเหลว รวมถึงอาจปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว คลื่นไส้ อาเจียน ซึ่งอาการท้องเดินเป็นบิด จะหายได้เองภายใน 5-7 วัน ในคนที่ไม่ได้ทานยา แต่บางรายก็อาจมีอาการกลับมาใหม่ได้อีก
4.ไทฟอยด์ (Typhoid) การติดต่อมักเกิดจากการปนเปื้อนของเชื้อในอาหารหรือน้ำดื่ม ซึ่งไข้ไทฟอยด์จะมีอาการแบบเฉียบพลัน รายที่เป็นรุนแรงอาจเสียชีวิตได้ อาการของโรคจะมีไข้ ปวดเนื้อปวดตัว คลื่นไส้ หัวใจเต้นช้าลง (โดยทั่วไปแล้วเวลามีไข้จะเต้นเร็วขึ้น) หากให้แพทย์ตรวจอาจพบว่าม้ามโต บริเวณใต้ชายโครงด้านซ้าย ต้องใช้การตรวจเลือดยืนยันว่าเป็นโรคนี้จริง ส่วนการป้องกันสามารถทำได้โดยการใช้วัคซีน ซึ่งมีทั้งในรูปของการรับประทานหรือฉีด แต่การป้องกันไม่สามารถป้องกันได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ ดังนั้น วิธีที่ดีที่สุดคือการระมัดระวังเรื่องอาหารและน้ำดื่ม
5.อหิวาตกโรค (Cholera) โดยทั่วไปคนส่วนใหญ่ที่ติดเชื้ออหิวาต์ จะไม่มีอาการหรือมีไม่มาก แต่ในรายที่ติดเชื้อรุนแรง อาจเสียชีวิตได้ในเวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมงหลังเกิดอาการ เนื่องจากมีการสูญเสียของน้ำและเกลือแร่ในปริมาณมาก โรคนี้ติดต่อได้โดยการรับประทานอาหารหรือน้ำดื่มที่มีเชื้อเข้าไป การรักษาควรทดแทนน้ำและเกลือแร่ที่สูญเสียไป กับการถ่ายอุจจาระและการอาเจียน เช่น ให้ผู้ป่วยดื่มน้ำเกลือ แต่หากรุนแรงต้องให้ทางเส้นเลือด ควบคู่กับการใช้ยาปฏิชีวนะ
6.โรคพิษสุนัขบ้า (Rabies) โรคติดต่อร้ายแรงจากสัตว์สู่คน ไม่มียารักษาให้หายขาดได้ เพราะโรคดังกล่าวติดต่อจากการถูกสัตว์ที่มีเชื้อโรคพิษสุนัขบ้ากัด ข่วน หรือเลียบริเวณที่มีแผลอยู่แล้ว หรือน้ำลายของสัตว์กระเด็นเข้าตา ปาก จมูก ทั้งนี้ วิธีป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าที่ดีที่สุดก็คือ ให้นำสัตว์เลี้ยงไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าปีละครั้ง เริ่มฉีดเมื่ออายุ 2-4 เดือน และหากถูกสุนัขหรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกัด หรือข่วน ให้รีบล้างแผลด้วยสบู่และน้ำสะอาดหลาย ๆ ครั้ง เช็ดให้แห้ง แล้วใส่ยารักษาแผลสด และรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้อง
ที่มา : กรมควบคุมโรค
Tuesday, 22 January 2013
กลุ่มโรคติดต่ออุบัติใหม่ที่เสี่ยงระบาดในไทย
โรคติดต่ออุบัติใหม่ที่มีความเสี่ยงในประเทศไทย แบ่งได้ 3 กลุ่ม ได้แก่
กลุ่มที่ 1 โรคติดต่ออุบัติใหม่อุบัติซ้ำที่พบในประเทศไทย ได้แก่ โรคไข้หวัดนก โรคไข้หวัดใหญ่ โรคมือ เท้า ปาก โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ 2012 โรคลีเจียนแนร์ โรคไข้ปวดข้อยุงลาย โรคไข้กาฬหลังแอ่นจากเชื้อสายพันธุ์ใหม่ที่อาจเข้ามากับแรงงานต่างด้าว
กลุ่มที่ 2 โรคติดต่ออุบัติใหม่ที่อาจแพร่มาจากต่างประเทศ เช่น โรคไข้เหลือง โรคลิชมาเนียสิส โรคติดเชื้อไวรัสนิปาห์ โรคไข้เวสต์ไนล์ โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา-มาร์บวร์ก โรคสมองฝ่อวาเรียนท์ที่เกิดจากโรคสมองฝ่อในวัว หรือโรควัวบ้า และโรคที่อาจเข้ามากับสัตว์ เช่น โรคฝีดาษลิง และโรคติดเชื้อจากการใช้อาวุธชีวภาพ เช่น โรคแอนแทรกซ์ ไข้ทรพิษ กาฬโรค
และกลุ่มที่ 3 โรคติดต่ออุบัติใหม่ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เช่น โรคที่เกิดจากการกลายพันธุ์ของเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ โรคจากเชื้อดื้อยาชนิดใหม่ เป็นต้น
ที่มา : กรมควบคุมโรค
กลุ่มที่ 1 โรคติดต่ออุบัติใหม่อุบัติซ้ำที่พบในประเทศไทย ได้แก่ โรคไข้หวัดนก โรคไข้หวัดใหญ่ โรคมือ เท้า ปาก โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ 2012 โรคลีเจียนแนร์ โรคไข้ปวดข้อยุงลาย โรคไข้กาฬหลังแอ่นจากเชื้อสายพันธุ์ใหม่ที่อาจเข้ามากับแรงงานต่างด้าว
กลุ่มที่ 2 โรคติดต่ออุบัติใหม่ที่อาจแพร่มาจากต่างประเทศ เช่น โรคไข้เหลือง โรคลิชมาเนียสิส โรคติดเชื้อไวรัสนิปาห์ โรคไข้เวสต์ไนล์ โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา-มาร์บวร์ก โรคสมองฝ่อวาเรียนท์ที่เกิดจากโรคสมองฝ่อในวัว หรือโรควัวบ้า และโรคที่อาจเข้ามากับสัตว์ เช่น โรคฝีดาษลิง และโรคติดเชื้อจากการใช้อาวุธชีวภาพ เช่น โรคแอนแทรกซ์ ไข้ทรพิษ กาฬโรค
และกลุ่มที่ 3 โรคติดต่ออุบัติใหม่ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เช่น โรคที่เกิดจากการกลายพันธุ์ของเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ โรคจากเชื้อดื้อยาชนิดใหม่ เป็นต้น
ที่มา : กรมควบคุมโรค
Saturday, 5 January 2013
กำหนดอัตราเงินเดือนสำหรับคุณวุฒิที่ ก.พ. รับรอง
ในฐานะข้าราชการคนหนึ่ง วันนี้ขอนำหนังสือเวียน ของ สำนักงานคณะกรรมการ ข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) มาเเบ่งปันดังนี้ครับ
กำหนดอัตราเงินเดือนสำหรับคุณวุฒิที่ ก.พ. รับรอง ที่จะขึ้นใน ปี 2556 และ ปี 2557
ปี 2556 มีผลตั้งเเต่ วันที่ 1 มกราคม 2556
ปี 2557 มีผลตั้งเเต่ วันที่ 1 มกราคม 2557
โหลดเอกสาร
ขอบคุณที่มา : สำนักงานคณะกรรมการ ข้าราชการพลเรือน (ก.พ.)
กำหนดอัตราเงินเดือนสำหรับคุณวุฒิที่ ก.พ. รับรอง ที่จะขึ้นใน ปี 2556 และ ปี 2557
ปี 2556 มีผลตั้งเเต่ วันที่ 1 มกราคม 2556
ปี 2557 มีผลตั้งเเต่ วันที่ 1 มกราคม 2557
โหลดเอกสาร
ขอบคุณที่มา : สำนักงานคณะกรรมการ
Thursday, 3 January 2013
แจก โปรแกรม Excel ใช้สำหรับทำ บัญชีครัวเรือน บันทึก รายรับ รายจ่าย ปี 2556 FY 2013
วันนี้ขอนำ Excel ใช้สำหรับทำ บัญชีครัวเรือน บันทัก รายรับ รายจ่าย ปี 2556 ของธนาคารเเห่งประเทศไทย กับ ของธนาคารกสิกรไทย มาฝากนะครับ เพื่อจะได้บริหาร รายรับรายจ่าย การออม สำหรับตนเอง ครอบครัว และคนรอบข้าง มีประโยชน์ เเละใช้งานง่ายครับ
บัญชีครัวเรือน คือ คือ การจดบันทึก ข้อมูลเกี่ยวกับเงื่อนไขปัจจัยในการดำรงชีวิตของตัวเอง และภายในครอบครัว ข้อมูลที่ได้จากการบันทึกจะเป็นตัวบ่งชี้อดีต ปัจจุบันและอนาคตของชีวิตของตัวเอง สามารถนำข้อมูลอดีตมาบอกปัจจุบันและอนาคตได้ ข้อมูลที่ได้บันทึกไว้ จะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนชีวิตและกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิต ในครอบครัว
คำสอนของพ่อ
"... คนเราถ้าพอในความต้องการ ก็มีความโลภน้อย เมื่อมีความโลภน้อยก็เบียดเบียน คนอื่นน้อย. ถ้าทุกประเทศมีความคิด - อันนี้ไม่ใช่เศรษฐกิจ - มีความคิดว่าทำอะไรต้องพอเพียง หมายความว่า พอประมาณ ไม่สุดโต่ง ไม่โลภอย่างมาก คนเราก็อยู่เป็นสุข. พอเพียงนี้อาจจะมีมาก อาจจะมีของหรูหราก็ได้ แต่ว่าต้องไม่ไปเบียดเบียนคนอื่น. ต้องให้พอประมาณตามอัตภาพ พูดจาก็พอเพียง ทำอะไรก็พอเพียง ปฏิบัติตนก็พอเพียง ...”
พระราชดำรัส พระราชทานแก่คณะบุคคลต่าง ๆ ที่เข้าเฝ้าฯ ถวายชัยมงคล เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดาฯ พระราชวังดุสิต วันศุกร์ ที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๔๑
Download
หมายเหตุ - โหลดของ 4shared ต้องลงทะเบียน เป็นสมาชิกก่อนนะครับ
ของธนาคารแห่งประเทศไทย
http://upload.one2car.com/download.aspx?pku=9597E3B791UMQ8BD3C7[H24EZRLOA
หรือ
http://www.4shared.com/office/dZUS2_qn/Saving2556.html
ของธนาคารกสิกรไทย
http://k-expert.askkbank.com/Documents/K-ExpertSavingMemo_Ex2013_V1-2.xls
ขอบคุณที่มาจาก ฝ่ายทรัพยากรบุคคล ธนาคารเเห่งประเทศไทย และ ธนาคารกสิกร มา ณ ที่นี้
มีอะไรสอบถาม หรือ จะกด Like ใน FanPage ปิยพงษ์(ปอม) ได้ทาง
https://www.facebook.com/PiyapongpomBlog หรือ https://twitter.com/piyapongpom นะครับ
เฝ้าระวัง 13 โรค ที่อาจอุบัติใหม่และอุบัติซ้ำ
กรมควบคุมโรคเฝ้าระวัง 13 โรค ที่อาจจะมีการอุบัติขึ้นในประเท ศไทยอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแป ลงของสภาพอากาศซึ่งมีทั้งโรคอุบัติใหม่และโรคอุบัติซ้ำประกอบด้ วย
3. โรคติดเชื้อไวรัสนิปาห์และเฮนดร
8.โรคติดเชื้อสเตร็ปโตค็อกคัสซู
9.โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแ
1.โรคไข้กาฬหลังแอ่น
2. โรคไข้เลือดออก
3. โรคติดเชื้อไวรัสนิปาห์และเฮนดร า
4.โรคไข้หวัดนก
5.ไข้เหลือง
6.โรคชิคุนกุนยา
7. โรคมือเท้าปาก
8.โรคติดเชื้อสเตร็ปโตค็อกคัสซู อิส
9.โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแ รง (ซาร์ส)
10.โรคทูลารีเมีย
11. โรคเมลิออยโดซิส
12.โรคลิชมาเนีย
13.โรควีซีเจดี หรือโรคสมองเสื่อมชนิดใหม่
ที่มา : กรมควบคุมโรค
Subscribe to:
Posts (Atom)